กลยุทธ์การปฏิบัติราชการตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทางการบริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1

ผู้แต่ง

  • บุญครอง กุลดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • สุขแก้ว คำสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • กีรติ จันทรมณี โรงเรียนวัดหนองหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จังหวัดพิจิตร 66190

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2022.16

คำสำคัญ:

สภาพการปฏิบัติราชการตามหลักธรรมาภิบาล , กระบวนการมีส่วนร่วมทางการบริหารในสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติราชการตามหลักธรรมาภิบาลโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทางการบริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร
เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จำนวน 2,019 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งออกเป็นชั้น แล้วสุ่มแต่ละชั้นมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ยามาเน่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.5 (+5%) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 345 คน โดยมีค่าความเที่ยงตรงของข้อคำถามอยู่ระหว่าง 0.6-1 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาพรวมเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X} ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการปฏิบัติราชการตามหลักธรรมาภิบาลโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทางการบริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 มีการปฏิบัติราชการภาพรวมอยู่ระดับบ่อยครั้ง (gif.latex?\bar{X}  = 3.61, S.D. = 0.33) พิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากบ่อยครั้งไป ไม่มีการปฏิบัติเลย ตามลำดับดังนี้ หลักนิติธรรม ( gif.latex?\bar{X} = 4.26, S.D. = 0.50) หลักคุณธรรม (gif.latex?\bar{X}  = 4.23, S.D. = 0.61) หลักความคุ้มค่า (gif.latex?\bar{X} = 3.76, S.D. = 0.51) หลักความรับผิดชอบ (gif.latex?\bar{X}  = 3.74, S.D. = 0.79) อยู่ในระดับบ่อยครั้ง และพบว่า หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วมมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับบางครั้ง (gif.latex?\bar{X}  = 3.10, S.D. = 0.61) (gif.latex?\bar{X}  = 3.10, S.D. = 0.81)

References

ดรุณี คำมีคร. (2553). การศึกษาปัญหาการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

พชรพงศ์ ตรีเทพา. (2553). ยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษยอมนิยม: กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการดำเนินกิจกรรมเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสุจริต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). หนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ 04008/ว 950 เรื่อง ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ม.ป.ป.). คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้น 12 กันยายน 2557, จาก https://www.mot.go.th/file_upload/2560/anti_corruption_files/ITA_manual2560.pdf

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557. สืบค้นข้อมูลวันที่ 22 ตุลาคม 2557, จาก http://www.sti.or.th/sti/about.php?content_type=7&data=1

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

อินทรัตน์ ยอดบางเตย. (2547). ธรรมรัฐ. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้ากรุป.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2022

How to Cite

กุลดี บ. . ., คำสอน ส. . ., & จันทรมณี ก. . . (2022). กลยุทธ์การปฏิบัติราชการตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทางการบริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 16(1), 205–215. https://doi.org/10.14456/psruhss.2022.16