การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรม ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
DOI:
https://doi.org/10.14456/psruhss.2023.54คำสำคัญ:
หลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรม , โรงเรียนระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษ , นวัตกรรมการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรม 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา ประชากร ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จาก 46 โรงเรียน จำนวน 920 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม หลักสูตรฝึกอบรม แบบวัดความรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 2) หลักสูตรฝึกอบรมมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ เนื้อหาและโครงสร้างการฝึกอบรม ระยะเวลา กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ส่วนหลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.10/80.28 และครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้ารับการฝึกอบรมมีคะแนนด้านความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรมหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
จีรศักดิ์ หมุนขำ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 4(1), 89-96.
ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี. (2561). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 303-315.
ทวีศักดิ์ หงษ์เจริญ, และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2563). ความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้วตามแนวคิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 3(1), 40-60.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษาการวิจัย และเทคโนโลยีรองรับการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). รายงานการศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) การจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2561). แผนปฏิบัติราชการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สุธน วงค์แดง, ภาณุมาส เศรษฐจันทร์, และวีระพงษ์ สิงห์ครุธ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 75-90.
Bloom, B. S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-hill.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.
Keegan, A., Ringhofer, C., & Huemann, M. (2018). Human resource management and project based organizing: Fertile ground, missed opportunities and prospects for closer connections. International Journal of Project Management, 36(1), 121-133.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.
Luankaew, K. (2019). Removing education management lessons for the development of special economic zones of India. Retrieved March 10, 2019, from https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645634.
Sanghi, S. (2016). The handbook of competency mapping: understanding, designing and implementing competency models in organizations. India: SAGE publications.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace & World.
Tyler, R. (1971). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: The University of Chicago Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม