การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะชีวิตสำหรับเด็กด้อยโอกาสในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • ณกมล นกแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • สุวารีย์ วงศ์วัฒนา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • อนุ เจริญวงศ์ระยับ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 65000 https://orcid.org/0009-0007-7740-7078

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2023.47

คำสำคัญ:

ทักษะชีวิต , เด็กด้อยโอกาส , ศึกษาสงเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของทักษะชีวิตสำหรับเด็กด้อยโอกาส ในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนกลุ่มเด็กยากจนมากเป็นพิเศษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 520 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินทักษะชีวิตสำหรับเด็กด้อยโอกาสที่ผู้วิจัยได้พัฒนามาจากแบบประเมินทักษะชีวิตของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .951 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้ค่าความถี่และร้อยละ การศึกษาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า ทักษะชีวิตสำหรับเด็กด้อยโอกาส ในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ทักษะการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น 2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) ทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด และ 4) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น และมีตัวชี้วัดรวมทั้งสิ้น 27 ตัวชี้วัด และโมเดลทักษะชีวิตสำหรับเด็กด้อยโอกาส ในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ X2 = 504.38,  df. = 263, CFI = 0.963, TLI = 0.950,  และ RMSEA = 0.041 เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งของโมเดลทักษะชีวิตสำหรับเด็กด้อยโอกาส จำนวน 27 ตัวชี้วัด พบว่ามีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานตั้งแต่ 0.534 - 0.761 มีค่า ความเชื่อมั่นในการวัด (R2) อยู่ระหว่าง 0.285 – 0.579 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่าองค์ประกอบทั้ง 4 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง 0.816 – 0.939

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2543). คู่มือการสอนทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสารเสพติดในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ชีวรัตน์ ดุษณีย์. (2546). การศึกษาสาเหตุการออกกลางคันสำหรับนักเรียนในสถานสงเคราะห์เด็กบ้านเด็กเมอร์ซี่ ในความดูแลของมูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

วราพร เอราวรรณ์. (2554). การวิเคราะห์พหุลักษณะ-พหุวิธี 2 ระดับ: หลักการและการประยุกต์. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 24(3), 393-408.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.

ศรีหะริ รวินทรนาถ และองค์กร Dream a Dream. (2564). สร้างทักษะชีวิต ประเมินเด็ก และเปลี่ยนแปลงการศึกษา. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.eef.or.th/life-skill-assessment-scale-india/.

ศรีหะริ รวินทรนาถ. (2564). ความท้าทายด้านการศึกษาในกลุ่มเด็กด้อยโอกาส. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.the101.world/happiness-curriculum/

ศศิวิมล เกลียวทอง. (2556). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 443-460.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2562). แนวทางการจัดกิจกรรมทักษะการดำรงชีวิต ตามกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์และราชประชานุเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

อนันต์ อุ่นแก้ว. (2556). คู่มือการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กด้อยโอกาส. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

อัจศรา ประเสริฐสิน. (2555). การวิจัยและพัฒนาความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูโดยใช้เทคนิค การเสริมพลัง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Nelson-Jones, R. (1997). Life Skills Helping : A Textbook of Practical Counseling and Helping Skills (3rd ed.). Sydney : Holt, Rinehart.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginnerrs Guide to Structural Equation Modeling: SEM. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-12-2023

How to Cite

นกแก้ว ณ., วงศ์วัฒนา ส. . ., & เจริญวงศ์ระยับ อ. . . (2023). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะชีวิตสำหรับเด็กด้อยโอกาสในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 17(2), 675–688. https://doi.org/10.14456/psruhss.2023.47