ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • นิสามณี ศรีบุญเรือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10220
  • วันดี เกษมสุขพิพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10220 https://orcid.org/0000-0001-7290-5739
  • ทรงชัย อักษรคิด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10220

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.23

คำสำคัญ:

การให้เหตุผลเชิงสัดส่วน , ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วน , บริบทเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วนของนักเรียนในระหว่างและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 19 คน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2563 โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วน และใบกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วนโดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ และใช้สถิติอ้างอิง ได้แก่ One-Sample t-test เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน วิเคราะห์ข้อมูลจากใบกิจกรรมโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อสรุปความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วนในระหว่างเรียน  ผลการศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วนในระหว่างเรียน พบว่า นักเรียนสามารถแสดงยุทธวิธีในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสัดส่วนได้หลากหลาย เช่น การใช้รูปภาพ ตาราง บัญญัติไตรยางศ์ และการใช้อัตราส่วนที่เท่ากัน นักเรียนมีความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับสัดส่วนและสถานการณ์เชิงสัดส่วน ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วนหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วนในด้านการเขียนแสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบพหุคูณหรือการหารในอัตราคงที่ การเปรียบเทียบอัตราส่วน และการหาค่าที่หายไป ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60

References

ขวัญ เพียซ้าย, สุพจน์ ไชยสังข์, ปิยวดี วงษ์ใหญ่, และอรพินท์ เจียระพงษ์. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัทรชา สุขสบาย. (2558). ความสามารถในการนำความรู้เรื่องของไหลไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเจตคติต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยุพาวรรณ คำทา. (2557). การพัฒนาแนวคิดและความสามารถในการนำความรู้เรื่องบรรยากาศไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รุ่งทิวา บุญมาโตน. (2560). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศราวุธ จอมนำ. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). PISA 2021 กับการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์. สืบค้น 10 มิถุนายน 2564, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2020-53/

Artut, P. D., & Pelen, M. S. (2015). 6th grade students’ solution strategies on proportional reasoning problems. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 197, 113-119. doi: 10.1016/j.sbspro.2015.07.066

Bennett, J. (2004). Teaching and Learning Science: A guide to recent research and its applications. London: Continuum.

Hillen, A. F. (2005). Examining preservice secondary mathematics teachers' ability to reason proportionally prior to and upon completion of a practice-based mathematics methods course focused on proportional reasoning (Doctoral dissertation). University of Pittsburgh.

Hilton, A., Hilton, G., Dole, S., Goos, M., & O'Brien, M. B. (2012). Evaluating midlle years students’ proportion reasoning. Conference: 35th Annual Conference of the Mathematics Education Research Group of Australasia At: Singapore Volume: Mathematics education: Expanding horizons (Proceedings of the 35th Annual conference of the Mathematics Education Research Group of Australasia, 330-337). Singapore: MERGA.

Hoover, S. (2012). Developing real-world math through literacy. Ohio Journal of School Mathematics, 65(11), 24-29.

Larson, K. (2013). Developing children’s proportional reasoning: Instructional strategies that go the distance. Ohio Journal of School Mathematics, 67, 42-47.

Nasir, R. (2018). Identifying the Students’ Proportional Reasoning. International Journal of Education Science and Research (IJSER), 8(2), 71-78.

ตาราง 2 เกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-05-2024

How to Cite

ศรีบุญเรือง น. . ., เกษมสุขพิพัฒน์ ว. . ., & อักษรคิด ท. . . (2024). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการให้เหตุผลเชิงสัดส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 18(1), 334–347. https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.23