การวิเคราะห์ความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างคุณลักษณะและความต้องการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • สิริมา หิมะเซ็น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
  • ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
  • จิระวัฒน์ ตันสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000 https://orcid.org/0000-0003-0647-2853
  • ธีระยุทธ รัชชะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.30

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล , คุณลักษณะ , ความต้องการเป็นผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการและความต้องการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2) เพื่อศึกษาสหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการและความต้องการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ คาโนนิคอล ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการและความต้องการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมาก คือ ด้านการมีอิสระในการบริหารงาน และ 2) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล พบว่า คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับความต้องการเป็นผู้ประกอบการ เท่ากับ .717 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองชุดได้ร้อยละ 51.40 (R2 = .514) โดยชุดตัวแปรคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ มีค่าน้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอลระหว่าง .833 - .917 ประกอบด้วย ด้านการทำงานเชิงรุก ด้านความกล้าเสี่ยง ด้านการมีอิสระในการบริหารงานด้านการมีนวัตกรรรม และด้านความกล้าที่จะแข่งขันตามลำดับ ส่วนชุดตัวแปรความต้องการเป็นผู้ประกอบการ มีค่าน้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอล อยู่ระหว่าง .858 - .933 ประกอบด้วย ด้านความต้องการความสำเร็จ ด้านความต้องการความผูกพัน และด้านความต้องการอำนาจตามลำดับ

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ข้อมูลการจดทะเบียนธุรกิจ เดือนพฤษภาคม 2563. สืบค้น 30 มิถุนายน 2563, จาก https://www.dbd.go.th/

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2544). การแปลความหมายสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสัมประสิทธิ์การอธิบาย. สืบค้น 30 มิถุนายน 2563, จาก http://www.watpon.com/Elearning/stat23.htm

ประพนธ์ เล็กสุมา. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การดาเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องเขียนของผู้ประกอบการรายย่อยในเขตอำเภอเมืองนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทรานิษฐ์ สรเสริมสมบัติ, วราวุธ ฤกษ์วรารักษ์, จารุวรรณ แดงบุบผา, และณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ. (2560). ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการเริ่มต้นธุรกิจของผู้ประกอบการโรงแรมในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 12(2), 17-41.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี งานทะเบียนและสถิตินักศึกษา. (2564). Student Summary. สืบค้น 30 มิถุนายน 2563, จาก https://regist.pn.psu.ac.th/main/

วันวิสาข์ โชคพรหมอนันต์, และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. VeridianE-Journal,SilpakornUniversity (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 8(2), 967-988.

สมคิด บางโม. (2555). การเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurship (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เอส เค บุ๊คส์.

สำคัญสุด สีหตุลานนท์. (2560). ปัจจัยแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ กรณีศึกษา นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้น 30 มิถุนายน 2563, จาก http://www.onwr.go.th/?page_id=4172

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปที่ 15 : การสร้างสังคมผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). ทำความรู้จักกับ SME ไทย. สืบค้น 30 มิถุนายน 2563, จาก http://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2017052114185579.pdf

สุธาทิพย์ จันทร์เจริญผล, และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). อิทธิพลของการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและการมุ่งเน้นการตลาดที่มีต่อการตอบรับจากลูกค้า และความได้เปรียบทางการแข่งขันของกิจการร้านยาในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(1), 1176-1191.

สุธีรา อะทะวงษา. (2556). คุณลักษณะที่สำคัญของการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 176-183.

Cooper, D. R., Schindler, P. S., & Sun, J. (2006). Business Research Methods (9th Ed.). New York: McGraw-hill.

Covin, J. G., & Slevin, D. P. (1991). A conceptual model of entrepreneurship as firm behavior. Entrepreneurship Theory and Practice, 16(1), 7-25.

Embi, N. A. C., Jaiyeoba, H. B., & Yussof, S. A. (2019). The effects of students’ entrepreneurial characteristics on their propensity to become entrepreneurs in Malaysia. Education + Training, 61(7/8), 1020-1037.

Indriyana, F., & Djastuti, I. (2018). Work values of generation Y. Diponegoro International Journal of Business, 40(1), 40-48.

Lumpkin, G. T., & Dess, G. G. (1996). Clarifying the entrepreneurial orientation construct and linking it to performance. Academy of Management Review, 21(1), 135-172.

Miller, D. (1983). The correlates of entrepreneurship in three types of firms. Management Science, 29(7), 770-791.

Sherry, A., & Henson, R. (2005). Conducting and Interpreting Canonical Correlation Analysis in Personality Research: A User-Friendly Primer. Journal of Personality Assessment, 84(1), 37-48.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.

ภาพ 2 รูปแบบความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างคุณลักษณะและความต้องการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-05-2024

How to Cite

หิมะเซ็น ส. ., รอบคอบ ณ. ., ตันสกุล จ. ., & รัชชะ ธ. . (2024). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างคุณลักษณะและความต้องการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 18(1), 439–454. https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.30