รูปแบบการเสริมพลังครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนวอชแบคทางบวก
DOI:
https://doi.org/10.14456/psruhss.2023.41คำสำคัญ:
การเสริมพลังครู , การจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานบทคัดย่อ
วอชแบคเป็นผลกระทบจากการสอบที่มีทั้งทางบวกและทางลบต่อการจัดการเรียนรู้ของครู การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมพลังครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนวอชแบคทางบวก กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 จำนวน 12 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนวอชแบค วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีการทางสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบเสริมพลังครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเมินเป็นฐานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนวอชแบคทางบวกมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนวอชแบค (2) การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐาน (3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐาน (4) การกำกับติดตามหนุนเสริม (5) การประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนวอชแบค และ (6) การใช้ผลการประเมิน โดยมีคุณภาพด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านความถูกต้องตามหลักการ ด้านความเป็นได้ในการนำไปใช้ และด้านความเหมาะสมกับบริบท ครูกลุ่มเป้าหมายในการใช้รูปแบบมีพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนวอชแบคทางบวกหลังการใช้รูปแบบมากกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กฤติยา วงศ์ก้อม. (2547). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: เหรียญทองการพิมพ์.
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2560). การเสริมพลังอำนาจครูเพื่อขับเคลื่อนรูปแบบการบูรณาการจิตสำนึกรักษ์น้ำสู่สถานศึกษาลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ธัญญรัศม์ จอกสถิต. (2553). โมเดลการพัฒนาการปฏิบัติงานครู : การประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินครูที่เน้นการปฏิบัติงานเป็นฐานและการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริฉัตร ปิติสุทธิ. (2558). ผลการสอบระดับชาติที่มีต่อครูและนักเรียน: การวิเคราะห์ปรากฏการณ์วอชแบค (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญศรี บุญเดช, อมรรัตน์ พันธ์งาม, และจิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). การพัฒนาระบบการกำกับติดตามและประเมินเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(70), 9-18.
โรสนี จริยะมาการ. (2557). การสร้างความสามารถในการประเมินของครูเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยของนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้แนวคิดประเมินแบบเสริมพลังอำนาจและการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ แย้มทิม. (2556). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การประเมินเป็นฐาน. ในสุวิมล ว่องวาณิช และคณะ (2556, 35-47). คู่มือปฏิบัติการครูในการประเมินสู่การเรียนการสอน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2556). แนวคิดการปฏิบัติงานของครู. ใน สุวิมล ว่องวาณิช, คู่มือปฏิบัติการครูในการประเมินสู่การเรียนการสอน (หน้า 36-47). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ahmad, S., & Rao, C. (2012). Examination Washback Effect: Syllabus, Teaching Methodology and the Learners’ Communicative Competence. Journal of Education and Practice, 3(15), 173-183.
Au, W. (2011). Teaching under the new Taylorism: High-stakes testing and the standardization of the 21st century curriculum. Journal of Curriculum Studies, 43(1), 25-45.
Fetterman, D. M. (1996). Foundations of empowerment evaluation. CA: Sage.
Ghorbani, M. R., & Neissari, M. (2015). Washback Effect of the Iranian Concours on Senior High School Students' EFL Learning Activities. Iranian Journal of Language Testing, 5(1), 1-28.
Glover, P. (2014). Do language examinations influence how teachers teach. International Online Journal of Education and Teaching, 1(3), 197-214.
Kennedy, S., & Lui, R. (2013). Washback of a high-stakes English test in China: Student and teacher perceptions. Concordia Working Papers in Applied Linguistics, 4, 22-29.
Madaus, G. F. (1988). The Influence of Testing on the Curriculum. In L. N. Tanner (Ed.), Critical Issues in Curriculum: 87th Yearbook for the National Society for the Study of Education (pp. 83-121). Chicago: University of Chicago.
Muñoz, A. P., & Álvarez, M. E. (2010). Washback of an oral assessment system in the EFL classroom. Language testing, 27(1), 33-49.
Polesel, J., Rice, S., & Dulfer, N. (2014). The impact of high-stakes testing on curriculum and pedagogy: a teacher perspective from Australia. Journal of Education Policy, 29(5), 640-657.
Wilson, A. T. (2009). Assessment based instruction applied to a course and lab in digital signal processing. In Proceedings of the 2009 ASEE Southeast Section Conference, Southern Polytechnic State University, Marietta, GA.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม