การศึกษาความเป็นนักเคมีและปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นนักเคมี ตามทัศนะของครู อาจารย์ และบุคลากรด้านเคมีในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อรรถพล ลิวัญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี 94000
  • อาฟีฟี ลาเต๊ะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี 94000 https://orcid.org/0000-0002-0442-5706
  • ฮามีด๊ะ มูสอ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี 94000

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.27

คำสำคัญ:

ความเป็นนักเคมี , ปัจจัยที่ส่งเสริม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การให้ความหมายความเป็นนักเคมี 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ ส่งเสริมต่อความเป็นนักเคมี ตามทัศนะของครู อาจารย์ และบุคลากรด้านเคมี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ โดยใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาเคมีจำนวน 8 คน อาจารย์ผู้สอนสาขาเคมีจำนวน 8 คน นักเคมีหรือนักวิจัยด้านเคมีจำนวน 8 คน และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเคมีจำนวน 8 คน รวมจำนวน 32 คน จากโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งทำการคัดเลือกแบบเจาะจงโดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือก จากการศึกษาพบว่า ความเป็นนักเคมี  หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ธรรมชาติและปรากฏการณ์ของสสาร โดยใช้กระบวนการ/ทักษะทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และแสดงออกซึ่งบุคลิกภาพนักทดลองด้วยการใช้ความคิดอย่างเป็นระบบ รวมทั้ง มีเจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์และปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นนักเคมีของนักศึกษาสาขาเคมี แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยภายในบุคคล ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ (1) เจตคติที่ดีต่อวิชาเคมี (2) ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ 2) ปัจจัยภายนอกบุคคล ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ (1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเคมี (2) การสนับสนุนของครูเคมีในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (3) ลักษณะของบุคคลต้นแบบทางเคมี และ (4) บทบาทของอาจารย์เคมีในระดับมหาวิทยาลัย

References

กฤษณา ชุติมา. (2551). หลักเคมีทั่วไป เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา ภัทราวิวัฒน์. (2559). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 8(2), 151-168.

โกวิทย์ เวชชศาสตร์. (2547). กระบวนการเข้าสู่ความเป็นนักฟิสิกส์ : กรณีศึกษานักเรียนในแผนการเรียนคณิตศาสตร์–วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2558). กลยุทธ์การสอนเคมีอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: วิสต้า อินเตอร์ปริ้นท์.

ดนัย พุทธนิยม, สุวิมล ติรกานันท์, และบุญมี พันธุ์ไทย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 9(2), 74-83.

ประภัสสร สาระธนะ, ภัทรภร ชัยประเสริฐ, และสพลณภัทร ศรีแสนยงค์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิชาเคมี เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์และผลิตภัณฑ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(3), 117-129.

พุทธชาด อังณะกูร. (2563). การวิเคราะห์ความสนใจและเจตคติต่อเนื้อหาและอาชีพด้านสะเต็มของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(2), 105-125.

ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อบทบาทเอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และความคลุมเครือในบทบาทที่มีผลต่อพฤติกรรมตามบทบาทของนักเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 17(1), 55-78.

มาลีรัตน์ ภู่เกิด, นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, และสุทธิดา จํารัส. (2562). เจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง สมดุลเคมีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(75), 109-117.

วิภา อาสิงสมานันท์. (2563). มุมมองของครูวิทยาศาสตร์ต่อการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 235-247.

ศรีผกา เจริญยศ, มาเรียม นิลพันธุ์, และมารุต พัฒผล. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์การเรียนรู้เคมีและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(109), 46-57.

ศิริพรรณ แก่นสาร์, สมนึก ภัททิยธนี, และวิเชียร สิทธิประภาพร. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 18(2), 159-168.

สถาพร เรืองรุ่ง, อาฟีฟี ลาเต๊ะ, และพวงทิพย์ แก้วทับทิม. (2565). การศึกษาความเป็นนักฟิสิกส์ และปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นนักฟิสิกส์ ตามทัศนะของอาจารย์และบุคลากรด้านฟิสิกส์ในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 16(2), 525–536.

สมจิน เปียโคกสูง, และธรา อั่งสกุล. (2554). คุณลักษณะการสอนที่ดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: มุมมองของอาจารย์และนักศึกษา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 5(2), 109-130.

อวยพร ดําริมุ่งกิจ, และสิรินภา กิจเกื้อกูล. (2564). มุมมองของครูพี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต่อแนวทางในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารครุพิบูล, 8(2), 228-239.

Jaber, L. Z., & BouJaoude, S. (2012). A macro–micro–symbolic teaching to promote relational understanding of chemical reactions. International Journal of Science Education, 34(7), 973-998.

Whewell, W. (2014). The Philosophy of the Inductive Sciences: Volume 1: Founded Upon Their History. Cambridge University Press.

ตาราง 1 แสดงจำนวนผู้ให้ข้อมูล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2024

How to Cite

ลิวัญ อ., ลาเต๊ะ อ. ., & มูสอ ฮ. . (2024). การศึกษาความเป็นนักเคมีและปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นนักเคมี ตามทัศนะของครู อาจารย์ และบุคลากรด้านเคมีในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 18(1), 397–410. https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.27