การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี การตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค

ผู้แต่ง

  • ฮาฟิษ กาเส็มส๊ะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี 94000
  • มัฮดี แวดราแม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี 94000 https://orcid.org/0000-0001-6130-0718
  • จิระวัฒน์ ตันสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี 94000 https://orcid.org/0000-0003-0647-2853
  • สรินฎา ปุติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี 94000 https://orcid.org/0000-0002-3165-4715

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.26

คำสำคัญ:

จิตวิทยาศาสตร์ , สามจังหวัดชายแดนใต้ , ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในสามจังหวัดชายแดนใต้และ 2) หาคุณภาพของแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ประจำปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้นจำนวน 675 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบ 3 ขั้นตอน (three-stage random sampling) ตรวจสอบคุณภาพโดยวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับ และวิเคราะห์โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนมากกว่า 2 ค่า Grade-Response Model (GRM) โดยตรวจสอบพารามิเตอร์ของข้อสอบ ได้แก่ อำนาจจำแนก (α) ความยาก (β) และสารสนเทศของแบบวัด

ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบวัดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบจิตวิทยาศาสตร์ 10 องค์ประกอบ คือ 1) ความอยากรู้อยากเห็น 2) ความซื่อสัตย์ 3) ความอดทน มุ่งมั่น และเพียรพยายาม 4) ความมีระเบียบ และละเอียดรอบคอบ 5) ความรับผิดชอบ 6) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 7) ความมีเหตุผล 8) ความใจกว้าง 9) ความร่วมมือช่วยเหลือ และ10) เจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ องค์ประกอบละ 4 พฤติกรรมบ่งชี้ รวมทั้งสิ้น 40 พฤติกรรมบ่งชี้ มีลักษณะเป็นแบบวัดชนิดสถานการณ์ โดยในระหว่างสร้างแบบวัดมีการตรวจสอบคุณภาพ และปรับปรุง แก้ไข จนได้ข้อคำถามทั้งหมด 40 ข้อ คุณภาพของแบบที่พัฒนาขึ้น มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาผ่านเกณฑ์ทุกข้อซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.71-1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ใช้วิธีทดสอบ t-test ได้ข้อคำถามที่ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ โดยมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.893 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค ใช้การวิเคราะห์ Grade-Response Model (GRM) พบว่าค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (α) อยู่ระหว่าง 0.58-1.45 ส่วนค่าความยาก(β) ของแต่ละรายการคำตอบมีค่าเรียงลำดับจากน้อยไปมากทุกข้อ และค่าสารสนเทศของแบบวัดมีความเที่ยงเท่ากับ 0.9216

References

จงรักษ์ ภาโส. (2553). การสร้างแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

เฉลิมศักดิ์ มะลิงาม. (2558). การพัฒนามาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์กลุ่มแฝงเพื่อกำหนดคะแนนจุดตัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลิดา ไชยพันธ์กุล. (2559). การพัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทรายทอง พวกสันเทียะ. (2553). การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณพร เพิ่มโสภา, ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ, และวารุณี ลัภนโชคดี. (2563). การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสงคราม. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 700-716.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

สมทบ ไชยฮะนิจ. (2555). การสร้างแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สิทธิชัย ทองมาก, วุฒิชัย เนียมเทศ, เรชา ชูสุวรรณ, และฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2561). เหลียวหลังแลหน้าคุณภาพการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(ฉบับพิเศษ), 186 – 198.

สุนารี มีใหม่. (2557). การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดระหว่างแผนการเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ayala, R. J. (2009). The theory and Practice of Item Response Theory. United States of America: The Guildford Press.

Baker, F. (1985). The Basic of Item Response Theory. Journal of Educational Measurement, 23(3), 267-279.

Considine, J., Botti, M., & Thomas, S. (2005). Design, format, validity and reliability of multiple choice questions for use in nursing research and education. Collegian, 12(1), 19–24. https://doi.org/10.1016/S1322-7696(08)60478-3

Hambleton, R. K., & Jones, R. W. (1993). Comparison of classical test theory and item response theory and their applications to test development. Educational Measurement: Issues and Practice, 12(3), 38–47. https://doi.org/10.1111/j.1745-3992.1993.tb00543.x

Krathwohl, D. R., Bloom, B. S., & Masia, B. B. (1964). Taxonomy of educational objectives: the classification of educational goals (Affective domain, Vol. Handbook II). New York: David McKay.

Lichtenstein, M. J., Owen, S. V., Blalock, C. L., Liu, Y., Ramirez, K. A., Pruski, L. A., ... & Toepperwein, M. A. (2008). Psychometric reevaluation of the scientific attitude inventory‐revised (SAI‐II). Journal of Research in Science Teaching, 45(5), 600-616.

Moore, R. W., & Foy, R. L. H. (1997). The Scientific Attitude Inventory: A revision (SA 2). Journal of Research in Science Teaching, 34(4), 327-336.

Samejima, F. (1969). Estimation of latent ability using a response pattern of graded scores. Psychometrika, 34(1), 1–97. https://doi.org/10.1007/BF03372160

Wang, D., Cui, H., & Zhou, F. (2005). Measuring the personality of Chinese: QZPS versus NEO PI‐R. Asian Journal of Social Psychology, 8(1), 97-122.

ภาพ 2  โค้งสารสนเทศของแบบวัด จากข้อคำถามที่ 19 ในแบบวัด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2024

How to Cite

กาเส็มส๊ะ ฮ. . ., แวดราแม ม. ., ตันสกุล จ. . . ., & ปุติ ส. . (2024). การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี การตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 18(1), 381–396. https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.26