ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพด้านคหกรรมศาสตร์สำหรับผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก
DOI:
https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.21คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดกิจกรรม , ส่งเสริมอาชีพ , คหกรรมศาสตร์ , ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียว (One Group Pretest - Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพด้านคหกรรมศาสตร์สำหรับผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60–79 ปี ของโรงเรียนผู้สูงอายุพลายชุมพล ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 80 คน ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากและพิจารณาคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพด้านคหกรรมศาสตร์สำหรับผู้สูงอายุ แบบวัดความรู้ แบบประเมินทักษะอาชีพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ผลการทดลองพบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนทดสอบความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีคะแนนทักษะอาชีพอยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D.= 0.23)
References
กองสวัสดิการสังคม เทศบาลตำบลพลายชุมพล. (2565). จำนวนนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุพลายชุมพล. พิษณุโลก: สำนักงานเทศบาลพลายชุมพล.
กุลขนิษฐ์ ราเชนบุญยวัทน์. (2553). คหกรรมศาสตร์: ศาสตร์เพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). การวัดประเมินการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พลวัฒน์ รสโสดา, เกษม ประพาน, และสุทิน เลิศสพุง. (2564). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 15(1), 121-134.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฤดีมาศ พุทธมาตย์. (2562). การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ. (2565). แนวทางการดำเนินงานและรูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตผู้สูงอายุใน 4 มิติ (มิติสุขภาพ มิติสังคม มิติเศรษฐกิจ และมิติสภาพแวดล้อม). กรุงเทพฯ: สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). สารประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 29. สืบค้น 4 กันยายน 2563, จาก http//ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/C0ntents/D0ccments/Gazette2020
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2549). พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. สืบค้น 4 กันยายน 2563, จาก http://www.dla.go.th/Organizep
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
เอกสิษฐ์ หาแก้ว. (2563). รูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Skałacka, K., Derbis, R. (2015). Activities of the elderly and their satisfaction with life. Polish Journal of Applied Psychology, 13(3), 87–102. DOI:10.1515/pjap-2015-0039

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม