การศึกษาวิเคราะห์การขยายความหมายของคำเรียกอวัยวะ ตา ในภาษาไทย ตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน

ผู้แต่ง

  • นุชษรา พรหมนัส คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  • ปนัดดา ฤกษ์เปลี่ยน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.53

คำสำคัญ:

การขยายความหมาย , คำเรียกอวัยวะ , อรรถศาสตร์ปริชาน , เครือข่ายความหมาย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลุ่มความหมายของคำเรียกอวัยวะ ตา และกลไกความหมายและการขยายความหมายของคำเรียกอวัยวะ “ตา” ในภาษาไทย รวบรวมข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยโดยค้นหาคำว่า “ตา” คัดเลือกข้อมูลที่ปรากฏ 500 รายการข้อมูลในแต่ละประเภท (Genre) เป็นจำนวน 2,500 คำ และคัดเลือกข้อมูลความหมายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยออก ได้แก่ ชื่อเรียก และความหมายของ ตา ที่เป็นสรรพนามแทนบุคคล (Grandfather, Person) นำมาคัดเลือกให้เหลือเฉพาะความหมายที่เกี่ยวข้องกับ ตา อันเป็นความหมายพื้นฐานเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย เหลือข้อมูลทั้งสิ้น 1,890 ชุดข้อมูล โดยความหมายที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะ ตา มีคำว่า “ตา” ทั้งที่ปรากฏแบบโดด ๆ รวมถึงที่ปรากฏเป็นคำประสมหรือสำนวน จากการวิเคราะห์พบความหมายทั้งหมด 178 คำ จำแนกความหมายได้ 6 กลุ่มความหมาย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ‘ความหมายเกี่ยวกับอวัยวะตา จำนวน 35 ข้อมูล กลุ่มที่ 2 ‘ความหมายเกี่ยวกับบุคคล’ จำนวน 2 ข้อมูล กลุ่มที่ 3 ‘ความหมายเกี่ยวกับการมองเห็น’ จำนวน 47 ข้อมูล กลุ่มที่ 4 ‘ความหมายเกี่ยวกับความคิด อารมณ์ การแสดงออก’ จำนวน 62 ข้อมูลกลุ่มที่ 5 ‘ความหมายเกี่ยวกับรูปพรรณสัณฐาน’ จำนวน 25 ข้อมูล และกลุ่มที่ 6 ‘ความหมายเกี่ยวกับเวลา’ จำนวน 7 ข้อมูล ผลการศึกษาความหมายที่หลากหลายนี้ เกิดขึ้นภายใต้กลไกทางความหมายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความหมายต่าง ๆ กลไกทางความหมายที่พบได้แก่กลไกนามนัย อุปลักษณ์ กลไกอุปลักษณ์-นามนัย และห่วงโซ่อุปลักษณ์ พบการนามนัยที่ทำให้ความหมายอวัยวะตาเกิดความหมายใหม่คือ การนามนัยแบบการกล่าวถึงส่วนย่อยแทนส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่แทนส่วนย่อย และจากสาเหตุแทนผลลัพธ์ ในส่วนกลไกอุปลักษณ์ พบมโนทัศน์ 4 ประเภทได้แก่ ตา คือสิ่งมีชีวิต ตา คือสิ่งไม่มีชีวิต ตาคือพื้นที่และทิศทาง ตาคือภาชนะ โดยมีอุปลักษณ์ทางความหมายที่พบ 7 ชนิด ได้แก่ 1) อุปลักษณ์มโนทัศน์ ตา คือ มนุษย์ 2) อุปลักษณ์มโนทัศน์ ตา คือ สัตว์ 3) อุปลักษณ์มโนทัศน์ ตา คือ พืช 4) อุปลักษณ์มโนทัศน์ ตา คือวัตถุ 5) อุปลักษณ์มโนทัศน์ ตา คือ ช่อง 6) อุปลักษณ์มโนทัศน์ ตา คือ เวลา และ 7) อุปลักษณ์มโนทัศน์ ตา คือ พื้นที่มโนทัศน์ทางความหมายดำเนินภายใต้กิจกรรมทางปริชานที่สำคัญคือกลไกการเชื่อมโยงทางความหมายซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความหมายจำแนกได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ความหมายพื้นฐาน 2) ความหมายเกี่ยวกับอวัยวะ 3) ความหมายเกี่ยวกับสัณฐานกลม 4) ความหมายเกี่ยวกับช่องว่างและเวลา โดยในแต่ละกลุ่มความหมายนั้นประกอบด้วยความหมายย่อยที่แตกออกจากความหมายพื้นฐานแสดงให้เห็นความหมายของคำเรียกอวัยวะ “ตา” นั้นขยายออกจากแวดวงความหมายของอวัยวะในร่างกายออกไปอย่างมีลำดับด้วยเครือข่ายทางความหมาย กล่าวคือ คำว่า “ตา” หมายถึง อวัยวะบนใบหน้า เป็นความหมายพื้นฐาน ส่วนประกอบหนึ่งของอวัยวะในร่างกายขยายความหมายสู่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ จากนั้น คำว่า "ตา" ความหมายส่วนประกอบของร่างกาย ขยายความหมายสู่ส่วนประกอบของสรรพสิ่ง ลำดับต่อมา คำว่า "ตา" จากความหมายที่เกี่ยวข้องกับส่วนของสรรพสิ่ง คุณสมบัติความเป็นวัตถุ พื้นที่การบรรจุขยายความหมายสู่ความหมายเชิงนามธรรม และ ความหมายของคำว่า "ตา" ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของช่องว่างขยายความหมายสู่ "ช่วงของเวลา" ในที่สุด

References

กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. (2559). กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัชชา ถิระสาโรจ. (2559). การศึกษาการแยกความหมายของคำหลายความหมายในภาษาไทยโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความหมายแอบแฝง (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทนา วงษ์ไทย. (2552). อุปลักษณ์ประสาทสัมผัสในภาษาไทย : การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Brosnahan, L., (1990). Japanese and English gesture : contrastive nonverbal communication. Tokyo: Taishukan Press.

Evans, V., & Green, M. (2006). Cognitive linguistics. Edinburgh University Press.

Heine, B., Claudi, U., Hünnemeyer. F. (1991). Grammaticalization: A Conceptual Framework. University of Chicago Press.

Lakoff, G & Johnson, M. (1980). Metaphors we live by. Chicago: University of Chicago Press.

Rosch, E. (1977). Human categorization. In N. Warren, Studies in cross-cultural psychology (pp. 1–49). London: Academic Press.

Tyler, A., & Evans, V. (2003). The Semantics of English Prepositions: Spatial Scenes, Embodied Meaning and Cognition. Cambridge: Cambridge University Press. https://doi.org/10.1017/CBO9780511486517

Zunshuai ,L (2013) A comparative Survey of Vision Metaphors Based on the Corpus in English and Chinese. Theory and Practice in Language Studies, 3(7), 1232-1242.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-12-2024

How to Cite

พรหมนัส น. ., & ฤกษ์เปลี่ยน ป. . (2024). การศึกษาวิเคราะห์การขยายความหมายของคำเรียกอวัยวะ ตา ในภาษาไทย ตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 18(2), 781–802. https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.53