การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ที่มีต่อการรับบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ, ศูนย์การศึกษาพิเศษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ที่มีต่อการรับบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษต่อการรับบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่ส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน
25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีต่อการรับบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษต่อการรับบริการของ
ศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากรและ
การบริหารจัดการ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย และด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน ความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น
รายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ รองลงมา คือ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ
ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กที่มี
ความต้องการพิเศษต่อการรับบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พบว่า ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่ส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการรับบริการโดยรวมแตกต่างกัน
References
กมลพร เอกอมรธนกุล. (2554). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการ
ศึกษาของสถานศึกษาเบบี้ จีเนียส กรณีศึกษา: สาขาพาราไดซ์พาร์ค. วิชาการค้นคว้า
อิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2545). คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
----------. (2547). คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.
บุญล้อม ด้วงวิเศษ. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การศึกษาแบบเรียนรวม.
กำแพงเพชร: ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
พัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์. (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนอนุบาล
ราชภัฏกำแพงเพชรและศูนย์เด็กปฐมวัย. กำแพงเพชร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏกำแพงเพชร.
ชนินทร์ สุวรรณรัตน์. (2553). การประเมินผลมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระ
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
มารีมารถ กาดู. (2559). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
ปฐมวัยของโรงเรียนวัดบางพูนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี
เขต 1. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยประทุมธานี.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). กรุงเทพฯ:
บริษัทไฮเอ็ดพิมพ์ลิชชิ่งจำกัด.
วรรณพร กาญจนาภา. (2544). สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาและการเลี้ยงดูเด็ก
ปฐมวัยในสถานรับเลี้ยงเด็กของกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหา
บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรัญจิต วรรณนวล.(2549). การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็ก
พิการ ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด. นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2559). หลักสูตรการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
สำหรับเด็กพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ.
อนุชา ภูมิสิทธิพร. (2560). รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะ
ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. พิษณุโลก: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพิบูลสงคราม.
อภิสมัย วุฒิพรพงษ์. (2540). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับ
ปฐมวัยในโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดสังกัดคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
เขตการศึกษา 12. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม