การพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • Bundit Muangong สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • Sukkaew Comesorn คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฎพิบูลสงคราม
  • Keangchak Suvannawat กลุ่มนิเทศติดตาม ศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศ, สมรรถนะครู, การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด้วยการวิจัยและพัฒนา
โดยมีจุดมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้  1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาล  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ครูโรงเรียนอนุบาลในกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 17 จำนวน 113 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม  2) เพื่อออกแบบและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จากผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินคุณภาพ  3) เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาล  กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ จำนวน 9 คน  4) เพื่อประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศ กลุ่มเป้าหมาย คือ
ครูโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ จำนวน 9 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า  1. ความต้องการจำเป็นในการนิเทศของครูโรงเรียนอนุบาล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นนั้นมีความต้องการจำเป็นทุกด้าน  2. รูปแบบ
การนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาล สังกัดกรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วยกระบวนการ 8 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ประชุมวางแผนการนิเทศการสอน (Planning)  ขั้นที่ 2 ให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรม (Information) ขั้นที่ 3 ทำการนิเทศการสอนและสังเกตพฤติกรรมของครูผู้สอน (Doing) ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการนิเทศการสอน (Analysis) ขั้นที่ 5 ประชุมหลังการนิเทศการสอน (Post-Observation Conference) ขั้นที่ 6 สร้างเสริมกำลังใจ (Reinforcing) ขั้นที่ 7 ประเมินผลการนิเทศการสอน (Evaluation) ขั้นที่ 8 รายงานผลการนิเทศ (Report) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่าน ผลการประเมินความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด และความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด  3. ผลการประเมินสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จากการใช้รูปแบบการนิเทศ ทำให้ครูมีสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก  4. ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก 

References

กรมวิชาการ. (2546). การนิเทศการสอนภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2554). นโยบายการจัดการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

จรูญพร ลำไย. (2552). การนิเทศการสอนแบบเพื่อนนิเทศเพื่อนและการนิเทศโดยผู้บริหารเพื่อพัฒนา สมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประกายมาตร ทองอินทร์. (2553). การปฏิบัติการนิเทศการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑล (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณทิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์. (2556). รายงานประเมินตนเอง. พิษณุโลก: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์.

วรรณพร สุขอนันต์. (2550). รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

สามารถ ทิมนาค. (2551). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ส่วนแผนและงบประมาณทางการศึกษาท้องถิ่น. (2556). สถิติข้อมูลโรงเรียนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษา (สมศ). (2557). รายงานผลการประเมินรอบสามโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษา (สมศ.).

Boyan & Copeland. (1978). Guiding Clinical Experiences Effective Supervision in Teacher Education. USA : United States of America.

Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (1995). Supervision of Instruction: A Developmental Approach (3rd ed.). Massachusetts : Allyn and Bacon.

Oliva, P. F., & Pawlas, G. E. (2001). Supervision for Today’ s Schools. (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-02-2019