ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดกับความจงรักภักดีต่อร้านกาแฟสดในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เกตุวดี สมบูรณ์ทวี

Abstract

The purpose of this research was to analyze Bangkok customers’ factors in selecting fresh coffee shops and study the relationship between marketing factors and fresh coffee shop loyalty. This study was a quantitative research. The samples of the study were 400 customers of the coffee shops in Bangkok. The instruments used for collecting the data in this study were questionnaires, which were analyzed by frequency, percentage, and average. The collected data were analyzed by a statistical technique of frequency, percentage, average, as well as factor analysis. The results of the analysis showed that the marketing factors could be classified into six categories: service quality, facility, place, staff, hygiene, and value. All factors of the six categories can explain the variance of variables at 65.248%. The category “service quality” is the highest, at 38.132%. An examination of the relationship of the factors loyalty by the application of the Pearson correlation among all the factors and consumers’ brand loyalty found that there was a causal relationship between the two. Therefore, there is a relationship between all factors of the six categories and coffee shop’s customer loyalty. The contribution of this study is applicable to approaches for the improvement and development of an effective coffee shop business and coffee shops which earn brand loyalty of customers.


 


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ในการวิเคราะห์เพื่อจัดกลุ่มปัจจัยทางการตลาดในการเลือกร้านกาแฟสด
ของผู้บริโภค และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดกับความจงรักภักดีต่อร้านกาแฟสดในเขต
กรุงเทพมหานคร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการร้านกาแฟ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) จากผลการวิเคราะห์ พบว่า สามารถรวมกลุ่มตัวแปรเป็น 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยด้านสถานที่ ปัจจัยด้านพนักงาน ปัจจัยด้านสุขอนามัย และปัจจัยด้าน คุณค่า พบว่า ปัจจัยทั้ง 6 อธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้ 65.248% โดยปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ ได้สูงสุด 38.132% และจากการตรวจสอบความสัมพันธ์ (Pearson Correlation) ระหว่างปัจจัยทั้ง 6 ด้าน กับความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้บริโภค พบว่า ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันมาก แสดงว่าปัจจัยทางการตลาดทั้ง 6 ด้าน มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อร้านกาแฟ ผลจากการศึกษานี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทาง ในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับร้านกาแฟ ให้มีประสิทธิภาพและเป็นร้านกาแฟที่ผู้บริโภคภักดีในตราสินค้า

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วยSPSS (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: ธรรมสารจำกัด.

ชัยสิทธิ์ สุทธิขจรกิจการ. (2559). ธุรกิจร้านกาแฟ 1.8 หมื่นล้าน ระอุ แบรนด์ไทยชิงแชร์แบรนด์นอก. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/721149

ฐานเศรษฐกิจ. (2559). สตาร์บัคส์ชูคุณภาพ/บริการสู้ร้านกาแฟแข่งเดือด. จาก https://www.thansettakij.com/content/24906

ฐิติชญาณ์ ไทยสวัสดิ์. (2550). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคกาแฟของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ณัฐวรรณ โสมาศรี. (2549). พฤติกรรมการบริโภคกาแฟในเขตเมืองพัทยา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธวัชชัย สุวรรณสาร. (2557). ความภักดีที่มีต่อแบรนด์ ( BRAND ROYALTY ) วัดจากอะไรคุณรู้ไหม. จาก https://www.coachtawatchai.org/2014/10/brand-royalty.html.

ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ. (2547). ความภักดีของลูกค้า. จาก https://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q4/article2004nov30p5.htm.

นิวรรณ เตือนใจยา. (2552). ความสัมพันธ์ของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการต่อการรับรู้และความพึงพอใจต่อตราสินค้าบิ๊กคาเมร่าที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

บุริม โอทกานนท์. (2552). ความภักดีต่อตราสินค้า (Brand Loyalty). จาก https://inside.cm.mahidol.ac.th/mkt/index.php?option=com_content&view=article&id=348

ประสพชัย พสุนนท์. (2553). สถิติธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป.

พงษ์เทพ สันติพันธ์. (2546). ความพึงพอใจของลูกค้าจากการใช้บริการสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.

ไพรพนา ศรีเสน. (2544). ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพการบริการในงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศิริราชคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

ไพลิน บรรพโต. (2555). พฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์มนุษยศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนอินเตอร์พริ้น.

รัตพล มนตเสรีวงศ์. (2558). ปัจจัยการสร้างคุณค่าของตราสินค้า คุณภาพในการบริการ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟ: กรณีศึกษาร้านกาแฟแบรนด์ไทยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

วาสนา ปิยะบวรนันท์. (2560). ปี2560ธุรกิจร้านกาแฟยังเติบโตได้อีก. จาก https://news.voicetv.co.th/business/466497.html

วรางคณา อดิศรประเสริฐ. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สรายุทธ กันหลง. (2555). การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม. จาก https://www.ipernity.com/blog/248956/424773

สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล. (2556). เกร็ดความรู้นักการตลาดและประชาสัมพันธ์. จาก https://www.ismed.or.th/.

อัจฉรียา เทศสีหา. (2551). การตัดสินใจของผู้บริโภคต่อการซื้อกาแฟสดของ ร้านคอฟฟี่โรด โฮมโปร สาขาประชาชื่น จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.

Aaker, D. A . (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on The Value of a Brand Name. New York: The Free Press.

Chaudhuri, A., & Holbrook, B. M. (2001). The Chain of Effects from Brand Affect to Brand Performance: The Role of Brand Loyalty. Journal of Marketing, 65, 81-93.

Crosby, P. B. (1979). Quality is Free. New York: McGraw-hill.

Krungsri Guru. (2016). ธุรกิจร้านกาแฟ ลงทุนอย่างไรไม่ให้เจ๊ง. จาก https://www.krungsri.com/bank/th/krungsri-guru/guru/sme/aug-2016/how-to-build-up-your-coffee-cafe-kingdom.html

Lewis, R. C., & Bloom, B. H. (1983). The Marketing Aspects of Service Quality. In Berry, L.,Shostack, G. and Upah, G. (Eds). Emerging Perspectives on Services Marketing. AMA. Chicago, IL, 99-107.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry L. L. (1998). SERVQUAL: A multi-item scale for measuring Consumer Perception of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Phuket7days. (2016). อนาคต ธุรกิจ “ร้านกาแฟ” จะ “รุ่ง” หรือ “ร่วง”. จาก https://www.phuket7days.com

Taylor, S. A., Celuch, K., & Goodwin, S. (2004). The Importance of Brand Equity to Customer Loyalty. Journal of Product & Brand Management, 13(2004), 217-227

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3 rd ed.). New York: Harper and Row