อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ “กิเลส” ในพระสุตตันตปิฎก

ผู้แต่ง

  • ภัสร์วริญญ์ เอี่ยมสอาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • รุจิรา เส้งเนตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิเลส, พระสุตตันตปิฎก, อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถ้อยคำอุปลักษณ์ที่สะท้อนมโนทัศน์เกี่ยวกับกิเลสในพระสุตตันตปิฎก ตามแนวทางทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชานของ Lakoff and Johnson (1980) เก็บข้อมูลจากพระสุตตันปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. 2500 ผลการวิจัยพบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับกิเลสทั้งสิ้น 10 อุปลักษณ์ ได้แก่ 1) [กิเลส คือ สสาร] 2) [กิเลส คือ สิ่งสกปรก] 3) [กิเลส คือ ไฟ] 4) [กิเลส คือ ศัตรู] 5) [กิเลส คือ เครื่องพันธนาการ]  6) [กิเลส คือ สิ่งกีดขวาง] 7) [กิเลส คือ มนุษย์]   8) [กิเลส คือ ผู้มีอำนาจเหนือกว่า]  9) [กิเลส คือ อาหาร] และ 10) [กิเลส คือ พื้นที่] อุปลักษณ์เหล่านี้สะท้อนมโนทัศน์ทางพระพุทธศาสนา คือ กิเลสก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิต ขัดขวางการพัฒนาของจิต ดังนั้นมนุษย์จึงควรกำจัดกิเลสให้หมดไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-18