ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงแรม: กรณีศึกษาโรงแรมในแขวงรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปิยภาคย์ ภูมิภมร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วัสราภรณ์ ละนิล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชัญญา อินทร์ประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กัญญ์วรา ลอยประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พาริษฐาภรณ์ อภิปัจนากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ, ความพึงพอใจ, สิ่งอำนวยความสะดวก,โรงแรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงแรมและที่พัก โรงแรม แขวงรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานครโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุที่มาใช้บริการโรงแรมในแขวงรัชดาภิเษก จังหวัดกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คนโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากนั้นทำการประเมินผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ59.8) มีอายุระหว่าง60-64 ปี (ร้อยละ33)ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ72.8)มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 60.8)มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 43.8)มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 15,000-20,000บาท (ร้อยละ 58.5) ส่วนใหญ่มีภาวะเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาเป็นประจำ คือปวดหลังปวดเอว(ร้อยละ 26.8)และไม่มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเป็นประจำ(ร้อยละ 67.5)ระดับความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรมในภาพรวมทุกด้าน( =4.58, SD.= 0.57) เมื่อเทียบกับสิ่งอำนวยความสะดวกทั้ง 10 ด้าน ด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดคือด้านประตูสำหรับผู้สูงอายุ( =4.58, SD.= 0.57)สำหรับด้านประตูสำหรับผู้สูงอายุมีประเด็นที่ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดคือมีเครื่องหมายแสดงทางไปสู่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ( =4.58, SD.= 0.59)ด้านที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยที่สุดต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรมในภาพรวมคือด้านโรงมหรสพหอประชุมและโรงแรมซึ่งมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก( =4.42, SD.= 0.57)และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยที่สุดคือระบบสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน( =4.22, SD.= 0.56)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-05