จักกวัตติสูตร : ศึกษาวิเคราะห์บนฐานทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์

Main Article Content

Uthai Satiman

บทคัดย่อ

คัมภีร์เนตติปกรณ์ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญที่ใช้เป็นหลักในการร้อยกรองคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และเป็นคัมภีร์ที่ใช้วิเคราะห์เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของผู้ร้อยกรองได้เป็นอย่างดี   ทำให้เข้าใจคัมภีร์ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น การตีความจักกวัตติสูตรตามแนวคิดทฤษฎีการตีความตามคัมภีร์เนตติปกรณ์และทฤษฎีการตีความตามวิธีการตีความคัมภีร์ทางศาสนาโดยเฉพาะคัมภีร์ไบเบิล ๙ อย่าง เพื่อให้เข้าใจถึงเนื้อหาสาระในจักกวัตติสูตรในมุมมองที่แตกต่างจากเดิมอันเป็นการประยุกต์เนื้อหาสาระในจักกวัตติสูตรเพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารองค์การในปัจจุบัน ในพระสูตรได้กล่าวถึงสังคมยุคศรีอาริย์ซึ่งน่าจะเป็นการส่งเสริมและจูงใจผู้ฟังให้มีกำลังใจและอุตสาหะในการพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่โลกแห่งแบบในสังคมอุดมคติดังกล่าว หากพิจารณาให้สั้นเข้า อาจตีความได้ว่าเป็นกุศโลบายเพื่อให้คนสนใจปฏิบัติธรรมเพื่อไปสู่นิพพานในรูปแบบของสังคมยุคพระศรีอาริย์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดแบบพุทธเกษตร ของมหายาน หรือการตีความนิพพานที่เป็นดินแดนอย่างเช่นของวัดธรรมกายก็เป็นได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของหลวงพ่อพุทธทาสที่ตีความแบบกุศโลบายว่า โลกของพระศรีอาริย์อยู่แค่ปลายจมูก ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว แต่เกิดจากการเข้าถึงในปัจจุบันโดยการปฏิบัติธรรม แต่หากพิจารณาด้วยหลักยุติหาระตามคัมภีร์เนตติปกรณ์แล้วถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานธรรมดาที่จะมีพระพุทธเจ้าพระนามว่าศรีอาริย์เพราะเมื่อมีเหตุแห่งการบารมีและปรารถนาพุทธภูมิตราบใดก็มีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ตราบนั้น

Article Details

How to Cite
Satiman, Uthai. 2018. “จักกวัตติสูตร : ศึกษาวิเคราะห์บนฐานทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์”. ธรรมธารา 4 (1):29-68. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/125085.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Author Biography

Uthai Satiman, 093 9656519

Faculty of Humanities and Social Sciences, Suan Dusit University
Bookmark and Share

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คุณารักษ์ นพคุณ. แปล. 2544. เนตติปกรณ์แปลและเนตติสารัตถทีปนี. กรุงเทพมหานคร : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.

ปรุตม์ บุญศรีตัน. 2550. รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระณัฐพงษ์ ปญฺญาวชิโร (ฉลาดแหลม). 2550. การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดทางสังคมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาขงจื้อ. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). 2550. การตีความพุทธศาสนสุภาษิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พัชรลดา จุลเพชร. 2548. แนวคิดเรื่องกึ่งพุทธกาลในสังคมไทย พ.ศ. 2475 - 2550. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พุทธทาสภิกขุ. 2545.โลกพระศรีอารย์อยู่แค่ปลายจมูก. กรุงเทพมหานคร: หจก. เอมี่เทรดดิ้ง.

ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร รศ. และคณะ แปล. 2548. พระพุทธเจ้าสอนอะไร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .

ส.พลายน้อย. 2539. พระศรีอารย์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด.

สมิทธิพล เนตรนิมิตร. 2550. มิติสังคมในพระสุตตันตปิฎก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ชีวาภิวัตน์.

สีนีนาถ วิจิตราการลิขิต. 2549. การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพระพุทธเจ้าในอนาคตของสังคมไทย : ศึกษาเฉพาะกรณี พระศรีอริยเมตไตรยในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรชาติ นิ่มอนงค์. 2550. (อัดสำเนา) “เอกสารประกอบการสอน วิชาพระพุทธศาสนากับศาสตร์แห่งการตีความ”.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.

อารยัน. 2502. วิจารณ์พุทธทำนาย, พระนคร : โรงพิมพ์ธรรมบรรณาคาร.