การวิจัยเชิงคัมภีร์ กรณีศึกษา “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร"

Main Article Content

พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย (คงคารัตนรักษ์), ดร.

บทคัดย่อ

“ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” นับเป็นพระสูตรที่สำคัญต่อพระพุทธศำสนำและพุทธศาสนิกชน เพรำะแม้จะเกิดความเห็นที่ไม่ตรงกันในกำรสังคายนำพระธรรมวินัยจนเกิดการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ ถึง 18-20 นิกายก็ตาม แต่พระสูตรนี้ ยังคงสืบทอดต่อกันมาในคัมภีร์ของนิกายต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน โดยนักวิชาการสามารถรวบรวมได้ถึง 23 คัมภีร์
สำหรับบทความนี้ ได้นำเสนอรูปแบบการวิจัยเชิงคัมภีร์ 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การวิจัยในแนวดิ่ง (Vertical) และกำรวิจัยในแนวระนาบ (Horizontal) โดยผ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปเบื้องต้น 2 ประการดังต่อไปนี้
1. เมื่อพิจารณาถึง “ภาพรวม” แล้ว “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” ปรากฏใน “คัมภีร์ยุคต้น” ของแต่ละนิกำย ไม่ได้จำเพาะเจาะจงเฉพาะนิกายใดนิกายหนึ่ง จึงอาจกล่าวได้ว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” นี้ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาลในฐานะของพระปฐมเทศนา
2. เมื่อพิจารณาถึง “โครงสร้างเนื้อหา” จะเห็นได้ว่า มีเพียง “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” ในสายของนิกาย “สรวาสติวาท” เท่านั่นที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ โดยอนุโลมตามคำสอนในเรื่อง “มรรค 3” (ทรรศนมรรค, ภาวนามรรค, อไศกษยมรรค) ซึ่งถูกปรับใหม่ในภายหลัง

Article Details

How to Cite
ฐานิโย (คงคารัตนรักษ์) พระมหาพงศ์ศักดิ์. 2018. “การวิจัยเชิงคัมภีร์ กรณีศึกษา “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร"”. ธรรมธารา 2 (1):1-33. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160726.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

Bucknell, R.S. 1984. “The Buddhist Path to Liberation: An Analysis of the Listing of Stages,” Journal of Indian and Buddhist Studies 7(2): 7-40.

Mayeda, Sengaku (前田專學). 2001. “Agonkyō 阿含経 (คัมภีร์พระสุตตันปิฎก).” Butten-kaidai-jiten 仏典解題事典 (สารานุกรมอธิบายคัมภีร์พระพุทธศาสนา): 60-62. Tokyo: Shunjūsha. (first printed. 1966)

Mizuno, Kōgen (水野弘元). 1996. “Tenbōrinkyō-ni-tsuite『転法輪経』について (เกี่ยวกับ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร”).” Bukkyō-bunken-kenkyū: Mizuno-kōgen-cho-saku-senshū 仏教文献研究: 水野弘元著作選集1 (งานวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา: รวมผลงานเขียนของมิซุโนะ เล่ม 1). Tokyo: Shunjūsha.

Mori, Shōji (森章司). 1999. “Genshi-bukkyō-seiten-shiryō-ni-yoru-shakusonden-no-kenkyū-no- mokuteki-to-hōhōron「原始仏教聖典資料による釈尊伝の研究」の目的と方法論 (วัตถุประสงค์และวิธีวิจัยพุทธประวัติจากหลักฐานคัมภีร์พระพุทธศาสนายุคต้น).” Genshi-bukkyō-seiten-shiryō-ni-yoru-shakusonden-no-kenkyū 原始仏教聖典資料による釈尊伝の研究 1 (งานวิจัยพุทธประวัติจากหลักฐานคัมภีร์พระพุทธศาสนายุคต้น เล่ม 1). Tokyo: Chūō-gakujutsu-kenkyūjo.

Oka, Kyōtsui (岡教邃). 1927. “Bongo-no-agonkyō-to-kanyaku-genpon-no-kōsatsu 梵語の阿含経と漢訳原本の考察 (วิเคราะห์คัมภีร์อาคมในภาษาสันสกฤตและคัมภีร์ฉบับแปลภาษาจีนโบราณ).” Tetsugaku-zasshi 哲学雑誌 482: 30-60.

Teramoto, Enga (寺本婉雅). 1925. “Chibettoden-no-agonkyō-ni-tsuite 西蔵伝の阿含経に就て (เกี่ยวกับคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกในคัมภีร์สายทิเบต).” Shūkyō-kenkyū 宗教研究 2-4: 11-34.

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ. 2558. “บทบรรณาธิการ.” วารสารธรรมธารา 1(1): 3-7. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด.