Samayabhedoparacanacakra: คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (2)

Main Article Content

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม, ดร.

บทคัดย่อ

คัมภีร์ "สมยเภโทปรจนจักร" รจนาโดยพระวสุมิตรผู้เป็นพระเถระในนิกายสรวาสติวาทิน ในปัจจุบันไม่พบต้นฉบับภาษาสันสกฤต หลงเหลือเพียงสำนวนแปลภาษาทิเบตหนึ่งสำนวน และสำนวนแปลภาษาจีนอีกสามสำนวน ทางด้านเนื้อหาในคัมภีร์จะกล่าวถึง ปีแห่งพุทธปรินิพพาน มูลเหตุแห่งการแตกนิกาย นิกายต่าง ๆ และมติธรรมของนิกายนั้น ๆ คัมภีร์นี้มักจะถูกอ้างเสมอเมื่อมีการถกถึงประเด็นดังกล่าวข้างต้น หากมีการอ้างอิงคัมภีร์ทีปวงศ์ คัมภีร์กถาวัตถุ ที่เป็นคัมภีร์ตัวแทนของฝ่ายทักษิณนิกายเมื่อใด เมื่อนั้นคัมภีร์ "สมยเภโทปรจนจักร" ก็เป็นคัมภีร์ตัวแทนของฝ่ายอุตตรนิกายเสมอ
เนื่องจากแวดวงวิชาการพุทธศาสตร์ในประเทศเรา ยังขาดงานแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่อยู่ในชั้นปฐมภูมิจากภาษาโบราณต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเล็งเห็นความสำคัญในการแปลคัมภีร์ "สมยเภโทปรจนจักร" จากต้นฉบับภาษาทิเบต เป็นภาษาไทยและแสดงเชิงอรรถวิเคราะห์ประกอบ พร้อมเปรียบเทียบกับฉบับแปลจีนอีกสามฉบับ เพื่อให้แวดวงวิชาการพุทธศาสตร์ของบ้านเราได้นำข้อมูลจากฝ่ายอื่นมาค้นคว้าวิจัย อย่างรอบด้าน และพิจารณาเปรียบเทียบอย่างรอบคอบในประเด็นต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการค้นคว้าวิจัยให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นไป
สำหรับบทความฉบับนี้ ผู้เขียนจะขอแปลต่อจากหัวข้อ 1.1 "การแตกกิ่งนิกายของนิกายมหาสางฆิกะ" จนถึง 2.1.1.3 "หลักธรรมเกี่ยวกับธรรมลักษณะ"


Article Details

How to Cite
พิทักษ์ธีระธรรม เมธี. 2018. “Samayabhedoparacanacakra: คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (2)”. ธรรมธารา 2 (2):57-104. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160754.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. 2559. "Samayabhedoparacanacakra: คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (1)". วารสารธรรมธารา 2(1): 67-103. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด.

สิริวัฒน์ คำวันสา. 2545. พระพุทธศาสนาในอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.

เสถียร โพธินันทะ. 2543. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหามงกุฏราชวิทยาลัย.2544 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์จำกัด.

Bareau, André. 2013. The Buddhist Schools of the Small Vehicle. translated by Sara Boin-Webb. edited by Andrew Skilton. London: Buddhist Society Trust.

Deeg, Max. 2012. “Sthavira, Thera and ‘*Sthaviravāda’ in Chinese Buddhist Sources.” How Theravāda is Theravāda? Exploring Buddhist Identities: 129-162, edited by Peter Skilling, Jason A. Carbine, Claudio Cicuzza, and Santi Pakdeekham. Chiang Mai: Silkworm Books.

Karashima, Seishi (辛島静志). 1994. Chōagonkyō-no-gengo-no-kenkyū: onshago-bunse-ki-wo-chūshin-toshite長阿含経の原語の研究 一 音写語分析を中心として(งานวิจัยศัพท์ดั้งเดิมของคัมภีร์ทีรฆาคมะ: ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการถอดเสียงคำทับศัพท์). Tokyo: Hirakawashuppansha.

Lamotte, Ḗtienne. 1988. History of Indian Buddhism. translated by Sara Boin-Webb. France: Peeters Publishers.

Mitomo, Kenyō (三友 健容). 1996. "setsuissaiubu-no-seiritsu 説一切有部の成立(The Forma-tion of the Sarvāstivāda)". Indogaku-bukkyōgaku-ken-kyū 印度学仏教学研究 (Journal of Indian and Buddhist Studies) 89: 1-11.

Teramoto, Enga and Tomotsugu HiramaTsu (寺本婉雅, 平松友嗣). 1974. Zō-kan-wa-sanyaku-taikō: Ibushūrinron 藏漢和三譯對校:異部宗輪論(คำแปลเปรียบเทียบสามภาษา ทิเบต จีน ญี่ปุ่น: คัมภีร์สมยเภโทปรจนจักร). Tokyo: Kokushokankōkai.

Tsukamoto, Keishō (塚本啓祥). 1980. Shoki-bukkyō-kyōdan-no-kenkyū初期仏教教団史の研究 一 部派の形成に関する文化 史的考察 (A History of the Ear-ly Buddhist order: A Historical Study on the Formation of the Indian Buddhist Schools). 2nd ed. Tokyo: Sankibōbusshorin.

Tubb, Gary A., and Emery R. Boose. 2007. Scholastic Sanskrit: A Manual for Students. New York: Columbia University Press.

Willemen, Charles, Bart Dessein and Collett Cox. 1998. Sarvāstivāda Buddhist Scholasticism. Handbuch der Orientalistik, zweite Abteilung: Indien, elfter Band. Leiden: Brill.

Yamada, Ryūjō (山田龍城).1959. Daijō-bukkyō-seiritsu-shiron-josetsu 大乗仏教成立史論序説 (บทนำทฤษฎีประวัติการกำเนิดพระพุทธศาสนามหายาน). Kyoto: Heirakujishoten.