สมถวิปัสสนาในคัมภีร์อภิธรรม นิกายสรวาสติวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในบทความนี้ได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่อง “สมถวิปัสสนา” ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อภิธรรมนิกายสรวาสติวาท ตั้งแต่คัมภีร์อภิธรรมยุคต้นจนถึงคัมภีร์อภิธรรมยุคหลัง ทำให้ทราบถึงแนวคิดเรื่องสมถวิปัสสนาดังต่อไปนี้
สมถวิปัสสนาที่ปรากฏใน “พระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์” โดยมากเป็นการให้นิยาม กล่าวคือ นิยามของ “สมถะ” ไว้ว่า “กุศลเอกัคคตาจิต” บ้าง “สมาธิ” บ้าง “สัมมาสมาธิ” บ้าง และได้ให้นิยามของ “วิปัสสนา” ไว้ว่า “ธัมมวิจยะ” บ้าง “ปัญญา” บ้าง “สัมมาทิฏฐิ” บ้าง แต่ในคัมภีร์ “อภิธรรมมหาวิภาษา” เริ่มมีอรรถาธิบายเกี่ยวกับเรื่ิองสมถวิปัสสนา โดยกล่าวไว้ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. สมถวิปัสสนากับสมาธิและปฏิปทา 2. สมถวิปัสสนาจริตกับสมาธิ และ 3. สมถวิปัสสนากับนิวรณ์ ซึ่งเนื้อหาในลักษณะที่ 1 และ 2 เป็นความสัมพันธ์ต่อเนื่อง กล่าวคือ “ระดับของสมาธิ” เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึง “ปฏิปทา” และปฏิปทาเป็นสิ่งบ่งบอกถึง “จริต” คือ “สมถจริต” และ “วิปัสสนาจริต” สมถวิปัสสนาที่ปรากฏใน “พระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์” โดยมากเป็นการให้นิยาม กล่าวคือ นิยามของ “สมถะ” ไว้ว่า “กุศลเอกัคคตาจิต” บ้าง “สมาธิ” บ้าง “สัมมาสมาธิ” บ้าง และได้ให้นิยามของ “วิปัสสนา” ไว้ว่า “ธัมมวิจยะ” บ้าง “ปัญญา” บ้าง “สัมมาทิฏฐิ” บ้าง แต่ในคัมภีร์ “อภิธรรมมหาวิภาษา” เริ่มมีอรรถาธิบายเกี่ยวกับเรื่ิองสมถวิปัสสนา โดยกล่าวไว้ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. สมถวิปัสสนากับสมาธิและปฏิปทา 2. สมถวิปัสสนาจริตกับสมาธิ และ 3. สมถวิปัสสนากับนิวรณ์ ซึ่งเนื้อหาในลักษณะที่ 1 และ 2 เป็นความสัมพันธ์ต่อเนื่อง กล่าวคือ “ระดับของสมาธิ” เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึง “ปฏิปทา” และปฏิปทาเป็นสิ่งบ่งบอกถึง “จริต” คือ “สมถจริต” และ “วิปัสสนาจริต”
ในคัมภีร์อภิธรรมยุคหลังอย่าง “อภิธรรมโกศภาษยะ” พบว่าได้มีกล่าวถึงแนวคิดเรื่องสมถวิปัสสนาทั้ง 3 ลักษณะ ที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรมยุคกลาง โดยลักษณะที่ 1 และ 2 ในคัมภีร์ “อภิธรรมโกศภาษยะ” ได้เห็นด้วยและยอมรับในแนวคิดดังกล่าว แต่ทว่าแนวคิดในลักษณะที่ 3 กลับมีความเห็นที่ขัดแย้ง อีกทั้งยังได้วิจารณ์ถึงแนวคิดนี้ จนเป็นเหตุให้ท่านสังฆภัทรต้องออกมาอรรถาธิบายแก้กลับใน “อภิธรรมนยายานุสาร” และแนวคิดที่เพิ่งปรากฏในคัมภีร์ “อภิธรรมโกศภาษยะ” คือ สมถ-วิปัสสนากับกรรมฐาน กล่าวคือ “สมถกรรมฐาน” ได้แก่ “อสุภะ” และ “อานาปานสติ” สำหรับ “วิปัสสนากรรมฐาน” ได้แก่ “สติปัฏฐาน” ซึ่งไม่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรมยุคต้นและยุคกลางมาก่อน การระบุถึงกรรมฐานที่ชัดเจนเช่นนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับวิธีเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเริ่มปรากฏเด่นชัดในคัมภีร์อภิธรรมยุคหลังนี้เอง ในคัมภีร์อภิธรรมยุคหลังอย่าง “อภิธรรมโกศภาษยะ” พบว่าได้มีกล่าวถึงแนวคิดเรื่องสมถวิปัสสนาทั้ง 3 ลักษณะ ที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรมยุคกลาง โดยลักษณะที่ 1 และ 2 ในคัมภีร์ “อภิธรรมโกศภาษยะ” ได้เห็นด้วยและยอมรับในแนวคิดดังกล่าว แต่ทว่าแนวคิดในลักษณะที่ 3 กลับมีความเห็นที่ขัดแย้ง อีกทั้งยังได้วิจารณ์ถึงแนวคิดนี้ จนเป็นเหตุให้ท่านสังฆภัทรต้องออกมาอรรถาธิบายแก้กลับใน “อภิธรรมนยายานุสาร” และแนวคิดที่เพิ่งปรากฏในคัมภีร์ “อภิธรรมโกศภาษยะ” คือ สมถ-วิปัสสนากับกรรมฐาน กล่าวคือ “สมถกรรมฐาน” ได้แก่ “อสุภะ” และ “อานาปานสติ” สำหรับ “วิปัสสนากรรมฐาน” ได้แก่ “สติปัฏฐาน” ซึ่งไม่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรมยุคต้นและยุคกลางมาก่อน การระบุถึงกรรมฐานที่ชัดเจนเช่นนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับวิธีเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเริ่มปรากฏเด่นชัดในคัมภีร์อภิธรรมยุคหลังนี้เอง
Article Details
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย. 2559. “การวิจัยเชิงคัมภีร์: กรณีศึกษาธัมมจักกัปปวัตนสูตร.” วารสารธรรมธารา 2 (1): 1-33. ปทุมธานี: สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย.
Daizōkyō-gakujutsu-yōgo-kenkyūkai (大蔵経学術用語研究会), ed. 2001. “Shūimon-soku-ron 集異門足論 (คัมภีร์สังคีติปรรยาย).” Butten-nyūmon-jiten 仏典入門事典 (สารานุกรมคัมภีร์พระพุทธศาสนาเบื้องต้น). Kyoto: Nagata-bunshōdō.
Hung, Hung-lung (洪鴻榮). 2002. “Kusha-ron-ni-okeru-shikan『倶舎論』における止観 (สมถวิปัสสนาในคัมภีร์อภิธรรมโกศภาษยะ).” Indogaku-bukkyōgaku-kenkyū 印度学仏教学研究 51 (1): 372-369.
Imanishi, Junkichi. 1969. Das Pañcavastukam and die Pañcavastukavibhāṣā (Abhidharmatexte in Sanskrit aus den Turfanfunden I). Göttingen: Vandenhoeck & Ruprecht.
Imanishi, Junkichi. 1975. Fragmente des Abhidharmaprakaraṇabhāṣyam in Text und Übersetzung (Abhidharmatexte in Sanskrit aus den Turfanfunden II). Göttingen: Vandenhoek & Ruprecht.
Kamata, Shigeo (鎌田茂雄), Kōshō Kawamura (河村孝照), Ryōshin Nakao (中尾良信), Ryōsei Fukuda (福田亮成), and Shingyō Yoshimoto (吉元信行), eds. 1998. Daizōkyō-zen-kaisetsu-daijiten 大蔵経全解説大事典(สารานุกรมอธิบายคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา). Tokyo: Yūzankaku-shuppan.
Matsuda, Kazunobu. 1986. Newly Identified Sanskrit Fragments of the Dharmaskandha in the Gilgit Manuscripts (1) Sanskrit Fragments Transliterated with an Appendix by Hajime Sakurabe. Kyoto: Bun’eido.
Mitomo, Kenyō (三友健容). 2005. “Abidaruma-bukkyō アビダルマ仏教 (พระพุทธศาสนายุคอภิธรรม).” Suganuma-akira-hakushi-koki-kinen-ronbunshū: Indo-tetsu-gaku-bukkyō-gaku-e-no-izanai 菅沼晃博士古稀記念論文集 : インド哲学仏教学への誘い (รวมผลงานวิจัยในวาระฉลองสิริอายุครบ 70 ปี ดร. อะกิระ สุงะนุมะ: แนะนำทางสู่การศึกษาปรัชญาอินเดียและพระพุทธศาสนา): 118-128. Tokyo: Daitō-shuppansha.
Rosen, Valentina Stache. 1968. Das Saṅgītisūtra und sein Kommentar Saṅgītiparyāya. Berlin: Akad.-Verl.
Sakurabe, Hajime (櫻部建). 1969. Kusha-ron-no-kenkyū: Kai / Kon-pon 倶舎論の研究: 界・根品 (งานวิจัยอภิธรรมโกศภาษยะ: ธาตุ / อินทริยนิรเทศ). Kyoto: Hōzōkan.
Sakurabe, Hajime (櫻部建), and Nobuchiyo Odani (小谷信千代). 1999. Kusha-ron-no-genten-kaimei: Genjō-bon 倶舎論の原典解明: 賢聖品 (อรรถาธิบายคัมภีร์อภิธรรมโกศภาษยะ: มารคปุทคลนิรเทศ). Kyoto: Hōzōkan.
Takasaki, Jikido. 1965. “Remarks on the Sanskrit Fragments of the Abhidharmaskandhaśāstra.” The Journal of Indian and Buddhist Studies 13 (1): 33-41.
Waldschmidt, Ernst. 1965. Sanskrithandschriften aus den Turfanfunden Teil I. Wiesbaden: F. Steiner.