“มัธยมอาคม” ฉบับสันสกฤตในชิ้นส่วน คัมภีร์ใบลานที่กาฐมาณฑุ

Main Article Content

Matsuda Kazunobu
พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย (คงคารัตนรักษ์)

บทคัดย่อ

ในปี 1922 Prof. Dr. Sylvain Lévi (1863-1935) ได้เดินทางกลับมาจากประเทศเนปาล หลังจากนั้น 3 ปี ก็ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยที่ได้จากการศึกษาชิ้นส่วนของคัมภีร์ใบลาน 1 ลาน (2 หน้าลาน คือ ด้านหน้าและ ด้านหลัง) ที่ถูกจารด้วยอักษรคุปตะยุคหลัง ซึ่งพบในหอสมุดดุลบาร์ (Durbar Library) เมืองกาฐมาณฑุ โดยได้ศึกษาเปรียบเทียบและระบุได้ว่าเป็นเนื้อหาเดียวกับพระสูตรที่ 133 “อุปาลิสูตร” (Upāli-sūtra) ของคัมภีร์มัธยมอาคม (Madhyama-āgama) ฉบับแปลจีนโบราณ (中阿含) หลังจากนั้น หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (National Archives) ของประเทศเนปาลในปัจจุบัน ได้นำคัมภีร์ใบลาน 1 ลานของ “อุปาลิสูตร” นี้ เก็บรักษารวมอยู่ในชุดคัมภีร์ใบลานที่ไม่สมบูรณ์และยังไม่ได้ทำการศึกษา
ในคัมภีร์ใบลานเหล่านี้ มีชิ้นส่วนใบลานจำนวนหนึ่งที่มีทั้งขนาดและรูปแบบตัวอักษรที่เหมือนกัน รวมถึงขนาดของรูที่ใช้ร้อยผูกใบลานก็ยังเท่ากันอีกด้วยรวมอยู่ นั่นคือชิ้นส่วนใบลาน “มัธยมอาคมฉบับสันสกฤต” ที่เทียบเคียงได้กับพระสูตรที่ 135 ของ “มัธยมอาคมฉบับแปลจีนโบราณ” กล่าวคือ “ศิขาลกสูตร” หรือ “สุชาตกสูตร” (Śikhālaka-sūtra or Sujātaka-sūtra 善生經) และพระสูตรที่ 141 “อัปรมาทสูตร” หรือ “อุปมาสูตร” (Apramāda-sūtra or Upamā-sūtra 喩經)
สำหรับชิ้นส่วนใบลาน “มัธยมอาคมฉบับสันสกฤต” ที่พบใหม่นี้กับชิ้นส่วนของ “อุปาลิสูตร” อาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ใน “มัธยมอาคมฉบับสันสกฤต” ขนาดใหญ่ที่ถูกเก็บรักษามาถึงปัจจุบันไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ นอกจากนี้ โครงสร้างที่ต่างกันของ “มัธยมอาคมฉบับสันสกฤต” และ “มัธยมอาคมฉบับแปลจีนโบราณ” นี้จะเป็นการสื่อว่า สรวาสติวาทมี “มัธยมอาคม” ในฉบับต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป หรือว่า “มัธยมอาคมฉบับสันสกฤต” นี้ จะเป็นเพียง “มัธยมอาคมฉบับย่อ” ที่ถูกแยกออกมาจาก “มัธยมอาคมฉบับเต็ม” ซึ่งมีโครงสร้างเหมือนกับ “มัธยมอาคมฉบับแปลจีนโบราณ” เป็นประเด็นปัญหาที่ต้องทำการศึกษากันต่อไป


Article Details

How to Cite
Kazunobu, Matsuda, และ ฐานิโย (คงคารัตนรักษ์) พระมหาพงศ์ศักดิ์. 2018. “‘มัธยมอาคม’ ฉบับสันสกฤตในชิ้นส่วน คัมภีร์ใบลานที่กาฐมาณฑุ”. ธรรมธารา 3 (2):145-71. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160790.
บท
บทความแปลจากภาษาต่างประเทศ
Bookmark and Share

References

BENDALL, Cecil. 1897-1902.Śikṣāsamuccaya. Bibliotheca Buddhica 1. St. Petersburg: Académie Impériale des Sciences.

LAVEZZOLI, Peter. 2006. The Dawn of Indian Music in the West. London: Bloomsbury Academic.

LÉVI, Sylvain. 1925a. Vijñaptimātratāsiddhi / Deux traité de Vasubandu: Viṃśatikā (La Vigtaine) et Triṃsikā (La Trentaine). Bibliothèque de l’École des Hautes Études 245. Paris: Libraire Honoré Champion.

LÉVI, Sylvain. 1925b. “Notes Indiennes.” Journal Asiatique: 17-69.

MATSUDA, Kazunobu (松田和信). 1990. “Nepāru-kei-kosō-shahon-no-shin-hitei ネパール系古層写本の新比定 (สมมติฐานใหม่ของคัมภีร์ใบลานชั้นเก่าในจารีตเนปาล).” Indogaku-bukkyōgaku-kenkyū 印度学仏教学研究 39 (1): 389-386.

MATSUDA, Kazunobu (松田和信). 1995. “Gejinmikkyō-ni-okeru-bosatsu-jūji-no-bonbun-shiryō: Yuga-ron-shōkecchakubun-no-katomandu-danpen-yori『解深密経』における菩薩十地の梵文資料:『瑜伽論』摂決択分のカトマンドゥ断片より (ข้อมูลคัมภีร์สันสกฤตของโพธิสัตวทศภูมิในสังธินิรโมจนสูตร (Saṃdhinirmocana-sūtra): จากชิ้นส่วนคัมภีร์ใบลานในกาฐมาณฑุของวินิศจยะ (viniścaya) ในโยคาจารภูมิศาสตระ (Yogācārabhūmi-śāstra)).” Bukkyō-daigaku-sōgō-kenkyūjo-kiyō 佛教大学総合研究所紀要 2: 59-77.

NAMIKAWA, Takayoshi (並川孝儀). 1984. “Mahākarmavibhaṅga-shoin-no-kyō-ritsu-ni-tsuite Mahākarmavibhaṅga所引の経・律について (เนื้อหาใน “มหากรรมวิภังค์” ที่อ้างอิงจากพระสุตตันตปิฎกและพระวินัยปิฎก).” Bukkyō-daigaku-kenkyū-kiyō 佛教大学研究紀要 68: 62-66.

WALDSCHMIDT, Ernst. 1980. Sanskrithandschriften aus den Turfanfunden Teil IV. Wiesbaden: F. Steiner.