เอรกปัตตนาคราช (2): ศึกษาคาถาที่สอดคล้องกันในคัมภีร์ต่างฉบับ และวิเคราะห์ภาพสลักหินที่ภารหุต

Main Article Content

ชาคริต แหลมม่วง

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องจากภาคที่แล้ว ในภาคนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ประการแรกคือ แปลคาถาที่สอดคล้องกันในเรื่องเอรกปัตตนาคราชจาก 6 คัมภีร์คือ (1) อรรถกถาธรรมบทของเถรวาท (2) มหาวัสตุของโลโกตตรวาท (3) พระวินัยมหิศาสกะ (4) พระวินัยธรรมคุปต์ (5) พระวินัยมูลสรวาสติวาท กษุทรกวัสตุ (6) พุทธจริตสังครหะ (อภินิษกรมณสูตร) ประการต่อมาคือ ศึกษาเปรียบเทียบบางประเด็นในคาถาบาลีกับฉบับอื่นๆ ประการที่สาม ได้แก่ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาในคัมภีร์กับภาพสลักหินที่สถูปภารหุต ประการสุดท้ายคือ พิจารณาความเชื่อมโยงระหว่าง “อุตตรมาณพ” ในเนื้อเรื่องจากอรรถกถาธรรมบทกับ “นาลกมาณพ” ในเนื้อเรื่องจากอีก 5 คัมภีร์
     จากการศึกษาพบว่า เนื้อหาของแต่ละคัมภีร์มีคาถาที่สอดคล้องกัน คือ คาถาถามตอบปริศนาจำนวน 4-5 บท โครงสร้างเนื้อหาโดยรวมของคาถาจากอรรถกถาธรรมบทค่อนข้างใกล้เคียงกับคาถาในมหาวัสตุมากกว่าคัมภีร์อื่น ทั้งยังมีคำหนึ่งของคาถาในอรรถกถาธรรมบทปรากฏเป็นคำอ่านที่หลากหลายในฉบับตีพิมพ์และใบลานสายต่าง ๆ แต่ก็มีคำอ่านหนึ่งในจำนวนนั้นที่ถือได้ว่าสัมพันธ์ใกล้ชิดกับในมหาวัสตุมากกว่าคำอ่านอื่น สำหรับภาพสลักหินเรื่องนี้ที่ภารหุต มีรายละเอียดบนภาพหลายส่วนสอดคล้องสัมพันธ์กับเนื้อหาในคัมภีร์พุทธจริตสังครหะและอรรถกถาธรรมบท จากการศึกษาภาพสลักหินซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดียังสนับสนุนว่า เนื้อเรื่องนี้มีปรากฏอย่างช้าสุดตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3 นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเป็นไปได้ในระดับหนึ่งที่อุตตรมาณพในคัมภีร์เถรวาทจะเป็นบุคคลเดียวกันกับนาลกมาณพในคัมภีร์ฉบับอื่น

Article Details

How to Cite
แหลมม่วง ชาคริต. 2021. “เอรกปัตตนาคราช (2): ศึกษาคาถาที่สอดคล้องกันในคัมภีร์ต่างฉบับ และวิเคราะห์ภาพสลักหินที่ภารหุต”. ธรรมธารา 7 (1):3-63. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/244280.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Author Biography

ชาคริต แหลมม่วง, นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาเอเชียใต้ศึกษา คณะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

ชาคริต แหลมม่วง

อีเมล์ : [email protected]
เปรียญธรรม 8 ประโยค

การศึกษา
- (ปัจจุบัน) นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาเอเชียใต้ศึกษา คณะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาและวรรณคดีอินเดีย) มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
- พุทธศาสตรบัณฑิต (บาลีพุทธศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

─1. คัมภีร์แปล

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 31, 42, 61. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.

─2. บทความ

พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย. “ความสัมพันธ์ของชาดกในคัมภีร์กับชาดกในภาพสลักหินที่สถูปภารหุต.” วารสารธรรมธารา ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 3), (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559): 167-198.

• ภาษาต่างประเทศ

─1. คัมภีร์ภาษาบาลี

สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ. ชาตกํ ปฐโม ภาโค. สฺยามรฏฺฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2552.

สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกฏฺฐกถา. ชาตกฏฺฐกถา สตฺตโม ภาโค. สฺยามรฏฺฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2535.

สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกฏฺฐกถา. ธมฺมปทฏฺฐกถา ทุติโย ภาโค. สฺยามรฏฺฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2535.

Buddha Jayanti Tripitaka Series. Jātaka Pāli Vol. II. Sri Lanka: Democratic Socialist Republican Government, 1984.

Chaṭṭhasaṅgītipiṭakaṃ. Dhammapadaṭṭhakathā Dutiyo Bhāgo ဓမ္မပဒဋ္ဌကထာ ဒုတိယော ဘာဂေါ. Marammaraṭṭha: Sāsanikappamukhaṭṭhāna, 1992.

Chaṭṭhasaṅgītipiṭakaṃ. Jātakapāḷi Paṭhamo Bhāgo ဇာတကပါဠိ ပဌမော ဘာဂေါ. Marammaraṭṭha: Sāsanikappamukhaṭṭhāna, 1991.

Chaṭṭhasaṅgītipiṭakaṃ. Jātakaṭṭhakathā Catuttho Bhāgo ဇာတကဋ္ဌကထာ စတုတ္ထော ဘာဂေါ. Marammaraṭṭha: Sāsanikappamukhaṭṭhāna, 1959.

Chaṭṭhasaṅgītipiṭakaṃ. Vibhaṅga-mūlaṭīkā ဝိဘင်္ဂမူလဋီကာ. Marammaraṭṭha: Buddhasāsanasamiti, 1960.

Moggallāna Thera. Moggallāyana vyākaraṇa. Edited by H. Devamitta. Colombo: N.M. Perera, 1890.

Pali Text Society. Commentary on the Dhammapada Vol. III. Edited by H.C. Norman. London: The Pali Text Society, 1970.

Pali Text Society. Dīghanikāya Vol. III. Edited by J. Estlin Carpenter. London: The Pali Text Society, 1976.

Pali Text Society. Dīghanikāyaṭṭhakathāṭīkā Līnatthavaṇṇanā Vol. III. Edited by Lily De Silva. London: The Pali Text Society, 1970.

Pali Text Society. Jātaka Together with Its Commentary Vol. IV. Edited by V. Fausbøll. London: The Pali Text Society, 1963.

Pali Text Society. Majjhimanikāya Vol. II. Edited by Robert Chalmers. London: The Pali Text Society, 1977.

Pali Text Society. Saṃyuttanikāya Part V. Edited by M. Leon Feer. London: The Pali Text Society, 1976.

Pali Text Society. Sāratthappakāsinī Vol. III. Edited by F.L. Woodward. London: The Pali Text Society, 1977.

Pali Text Society. Sumaṅgalavilāsinī: Buddhaghosa’s Commentary on the Dīghanikāya Part III. Edited by W. Stede. London: The Pali Text Society, 1971.

Pali Text Society. Suttanipāta. Edited by Dines Andersen and Helmer Smith. London: The Pali Text Society, 1984.

Pali Text Society. Suttanipāta Commentary Vol. II. Edited by Helmer Smith. London: The Pali Text Society, 1966.

Pali Text Society. Thera- and Therī-gāthā. Edited by Hermann Oldenberg and Richard Pischel. London: The Pali Text Society, 1966.

Simon Hewavitarne Bequest. Commentary of the Jātaka Part V. Colombo: The Tripitaka Publication Press, 2009.

Simon Hewavitarne Bequest. Dhammapada-aṭṭhakathā Part II. Colombo: The Tripitaka Publication Press, 1922.

─2. คัมภีร์ภาษาสันสกฤต

Bibliotheca Philologica et Philosophica Buddhica. The Mahāvastu: A New Edition Vol. III. Edited by Katarzyna Marciniak. Tokyo: International Research Institute for Advanced Buddhology, Soka University, 2019.

─3. คัมภีร์ภาษาทิเบต

Derge Edition. sDe dge bKa' 'gyur Vol. 3, 4, 10. Tibet: Sakya Monastery, 1733.

─4. คัมภีร์ภาษาจีน

Taishō Issaikyō Kankōkai 大正一切經刊行會 (Taisho Tripitaka Publication Association). Taishō Shinshū Daizōkyō大正新脩大藏經 (Taishō Revised Tripiṭaka) Vol. 1, 3, 22, 24, 51. Tokyo: Taishō Issaikyō Kankōkai, 1962.

─5. คัมภีร์แปลภาษาอังกฤษ

Pali Text Society. Buddhist Legends: Translated from the Original Pali text of the Dhammapada Commentary Part III. Translated by Eugene Watson Burlingame. London: The Pali Text Society, 1979.

Sacred Books of the Buddhists. The Mahāvastu Vol. III. Translated by J.J. Jones. London: Luzac & Company Ltd., 1956.

─6. หนังสือภาษาอังกฤษ

Barua, Benimadhab. Barhut Book II: Jātaka-Scenes. Calcutta: Indian Research Institute, 1934.

Cunningham, Alexander. The Stūpa of Bharhut: A Buddhist Monument Ornamented with Numerous Sculptures Illustrative of Buddhist Legend and History in the Third Century B.C. New Delhi: Munshiram Manoharlal, 1998.

─7. บทความภาษาอังกฤษ

Coomaraswamy, Ananda K. “Erakapatra Nāgarāja.” Journal of the Royal Asiatic Society, 60, Issue 3, (July 1928): 629-630.

Karashima, Seishi. “On Avalokitasvara and Avalokiteśvara.” Annual Report of the International Research Institute for Advanced

Buddhology at Soka University, 20, (2017): 139-165.

More, Aruna. “Stupa: The image of Buddha.” International Journal of Humanities and Social Science Research, 3, Issue 4, (April 2017): 29-33.

von Hinüber, Oskar. “The Development of the Clusters -tm-, -dm- and -sm- in Middle and New Indo-Aryan.” Selected Papers on Pāli Studies. Oxford: Pali Text Society, 2005: 162-172.

─8. ข้อมูลจากเว็บไซต์

Chakraverty, Somnath. “Bharhut.” Virtual Museum of Images & Sounds, Accessed October 7, 2020. https://vmis.in/ArchiveCategories/download_image/491/31107.

Chakraverty, Somnath. “Bharhut.” Virtual Museum of Images & Sounds, Accessed December 31, 2020. https://vmis.in/ArchiveCategories/download_image/491/31266.

Kawasaki, Ken. “Bharhut Stupa In the Indian Museum, Kolkata.” Photo Dharma, Accessed November 7, 2020, https://www.photodharma.net/Guests/Kawasaki-Bharhut/images/Bharhut-Original-00004.jpg.