การวิเคราะห์เปรียบเทียบสายคัมภีร์พระพุทธศาสนาจีนและบาลีของสิงคาลกสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยด้านพุทธศาสตร์ในต่างประเทศส่วนใหญ่ มักใช้คัมภีร์หลายฉบับในการศึกษาเทียบเคียง เช่น พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี พระไตรปิฎกภาษาจีน ภาษาทิเบต หรือภาษาสันสกฤต เป็นต้น เพื่อให้เห็นข้อมูลที่รอบด้านและครบถ้วนในประเด็นที่ต้องการศึกษาวิจัย แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาพุทธศาสตร์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยมุ่งเน้นการศึกษาเฉพาะในคัมภีร์บาลี เนื่องจากข้อจำกัดหลายประการ เช่น ข้อจำกัดทางด้านภาษา ตลอดจนอาจมีแนวคิดที่ว่าพระไตรปิฎกฉบับภาษาอื่นเป็นของฝ่ายมหายาน และมีเพียงแค่พระไตรปิฎกบาลีเท่านั้นที่เป็นฝ่ายเถรวาท ดังนั้นในบทความนี้ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาสิงคาลกสูตรที่มีฉบับคัมภีร์คู่ขนานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาจีนมาศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อเป็นอีกหนึ่งหลักฐานเพื่อยืนยันว่าพระไตรปิฎกภาษาจีนไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นมหายาน ซึ่งการศึกษาสิงคาลกสูตรในครั้งนี้เป็นการวิจัยคัมภีร์ (Documentary research) ที่อาศัยการเปรียบเทียบจากบาลีและคัมภีร์จีนอีก 4 ฉบับ
ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์คู่ขนานและใบลานที่ถูกค้นพบเพิ่มเติมมาจากนิกายมหาสังฆิกะ มีเนื้อหาที่ตรงกันมากกว่าร้อยละ 75 ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า สิงคาลกสูตรเป็นพระสูตรดั้งเดิมที่มีมานับตั้งแต่การสังคายนาครั้งที่ 1 ส่วนความแตกต่างประมาณร้อยละ 25 นั้น เป็นผลมาจากการเรียงลำดับเนื้อหาบางส่วนที่ไม่ตรงกัน เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับอบายมุข 6 และมิตรแท้มิตรเทียม แต่เนื้อหาอื่นส่วนมากถูกเรียงลำดับไปในทิศทางเดียวกัน และพบว่ามีความแตกต่างในเนื้อหากรณีทิศ 6 (ในกรณีทิศ 6 ไม่ได้นำเสนอผลการวิจัยในบทความนี้)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
─1) บทความ
มะซึดะ คะซึโนบุ. “ ‘มัธยมอาคม’ ฉบับสันสกฤตในชิ้นส่วนคัมภีร์ใบลานที่กาฐมาณฑุ.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 5) (มกราคม-มิถุนายน 2560): 145-172.
• ภาษาต่างประเทศ
─1) คัมภีร์ภาษาบาลี
Pāli Text Society. Dīghanikāya Vol. III. Edited by J. Estlin Carpenter. London: The Pāli Text Society, 1976.
─2) คัมภีร์ภาษาจีน
Taishō Issaikyō Kankōkai 大正一切經刊行會 (Taisho Tripitaka Publication Association). Taishō Shinshū Daizōkyō 大正新脩大藏經 (Taishō Revised Tripiṭaka) Vol. 1, 50, 55. Tokyo: Taishō Issaikyō Kankōkai, 1962
─3. หนังสือภาษาอังกฤษ
Akanuma, Chizen. History of Buddhist scriptures. Kyoto: Hozokan, 1939.
Anālayo. Madhyama-āgama Studies. Taipei: Dharma Drum Publishing Corporation, 2012.
Bingenheimer, Marcus. Studies in Āgama Literature: With Special Reference to the Shorter Chinese Saṃyuktāgama.Taipei: Xinwenfeng, 2011.
Brough, John. The Gāndhārī Dharmapada. London: Oxford University Press, 1962.
Choong, Mun-keat. The Fundamental Teachings of Early Buddhism: A Comparative Study Based on the Sutranga Portion of the Pāli Samyutta-Nikaya and the Chinese Samyuktagama. Wiesbaden: Otto Harrassowitz Verlag, 2000.
Fumihiko, Sueki. Modern Language Translation of Long Agama. Tokyo: Hirakawa publishing, 1995.
Karashima, Seishi. The research in the primitive language of the long Agama. Tokyo: Hirakawa publishing, 1994.
Mizuno, Kogen. The recent edition of Kokuyaku issaikyo. Tokyo: Daito Shuppansha, 1969-1971.
Ui, Hakuju. Indo tetsugaku kenkyu. Tokyo: Iwanami Shoten, 1965.
─4. พจนานุกรม
Davids, T.W. Rhys and William Stede. The Pāli Text Society’s Pāli-English Dictionary. The Pāli Text Society, 1921-1925.
Williams, Monier. A Sanskrit English Dictionary. Oxford University Press, 1899.
─5. บทความภาษาอังกฤษ
Anālayo. “The Saṃyukta-Āgama Parallel to the Sāleyyaka-Sutta and the Potential of the Ten Courses of Action.” Journal of Buddhist Ethics, 13, (2006): 1-22.
F. Enomoto. “On the Formation of the Original Texts of the Chinese Āgamas.” Buddhist Studies Review, 3, (1986): 19–30.
Mayeda, Egaku. “Japanese Studies on the Schools of the Chinese Āgamas.” Zur Schulzugehörigkeit von Werken der Hīnayāna-Literatur. Erster Teil. Editor by H. Bechert. Göttingen: Vandenhoeck & Ruprecht, 1985: 94–103.
Harrison, Paul. “The Ekottarikāgama Translations of An Shigao,” Bauddhavidyasudhakarah: Studies in Honour of Heinz Bechert. Kieffer-Pülz: Petra, 1997: 261-284.
Hartmann, Jens-Uwe and Klaus Wille. “A Version of the Śikhā-lakasūtra/ SingālovādaSutta,” Buddhist Manuscript Volume III. Oslo: Hermes publishing, 2006: 1-7.
S. Hiraoka. “The Sectarian Affiliation of Two Chinese Samyuktāgamas.” Journal of Indian and Buddhist Studies, 49, (2000): 500-505.
Sucharitthammakul, Wilaiporn. “Applying the Principles of Textual Criticism to a Comparison of the Pāli Digha-Nikaya and Chinese Dirgha-agama in the Payasi sutta (1).” International Journal of Buddhist Thought & Culture, 24, (2015): 95–124.
─6. บทความภาษาจีน
王開府 wáng kāi fǔ (หวางไคฝู่). “善生經的倫理思想──兼論儒家佛倫理思想之異同 shàn shēng jīng de lún lǐ sī xiǎng ─ jiān lùn rú jiā fó lún lǐ sī xiǎng zhī yì tóng (แนวคิดจริยธรรมในซ่านเซิงจิง ความแตกต่างระหว่างแนวคิดจริยธรรมของพุทธและขงจื่อ).” 世界中國哲學學報 shì jiè zhōng guó zhé xué xué bào, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1, (2000): 57-92.
─7. บทความภาษาญี่ปุ่น
Kazunobu, Matsuda (松田 和信). “ 梵 文 『中 阿含 』 の カ トマン ドゥ断 簡 (New Sanskrit Fragments of the Madhyama-āgama from the Cecil Bendall Manuscripts in the National Archives Collection Kathmandu).” Journal of Indian and Buddhist Studies, Vol. 44.2, (1996): 113-119.
─8. ข้อมูลจากเว็บไซต์
韓廷傑 hán tíng jié (ฮันเอี๋ยนเจีย). “東漢時期的佛經翻譯 dōng hàn shí qī de fó jīng fān yì (การแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก),” liaotuo, May 19, 2014. https://www.liaotuo.com/fjrw/jsrw/htj/62598.html.
zh.wikipedia. “居士.” Accessed April 13, 2021. https://zh.wikipedia.org/wiki/%E5%B1%85%E5%A3%AB.