การเงินฐานราก(คนจน) กรณีศึกษาเพื่อความเป็นไปได้ในการพึ่งตนเองได้ ด้วยความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการพัฒนา

Main Article Content

โชคลาภ มั่นคง

บทคัดย่อ

“คนจนจะเอาเงินที่ไหนมาออม” ตำตอบนี้ฟังดูมีเหตุผลแต่เพียงผิวเผิน คนจนควรต้องออมเงินเพราะพวกเขาต้องมีชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตเช่นเดียวกับคนอื่นๆ จริงอยู่ที่วันนี้คนจนมีเงินน้อยมาก แต่นอกจากจะพบกองเงินเข้าโดยบังเอิญในชั่วข้ามคืนพวกเขาก็น่าจะคาดการณ์ได้ว่าพรุ้งนี้ต้องมีเงินน้อยเช่นกัน อันที่จริงคนจนควรมีเหตุผลให้ออมเงินมากกว่าคนรวย หากมีความเป็นไปได้แม้เพียงน้อยนิดว่าเงินออมเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขารอดพ้นจากหายนะได้ในอนาคต ส่วนหนึ่งที่สะท้อนจากหนังสือของ อภิจิต บาเนอร์จี เศรษฐศาสตร์ความจน (Poor Economics,2011) กลุ่มคนหรือประชาชนที่ถูกมองว่าเป็น “ประชาชนฐานราก(คนจน)” อยู่ใต้สุดในห่วงโซ่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นฐานของกลุ่มคนที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจมากว่าเสมอ ปัญหาใดกันแน่ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นไม่หลุดพ้นออกมาจากกับดักความยากจน (Poverty trap) ยังคงมีแสงสว่างแห่งความหวังหรือแนวทางในการพัฒนาใด


สร้างโอกาสใน“การเข้าถึงบริการทางการเงิน”(Financial inclusion) Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2006 ผู้ริเริ่มแนวคิดบนฐานทฤษฎีที่ว่า เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human capital) การให้โอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน ภายใต้ข้อจำกัดที่พวกเขามี จึงเป็นที่มาของ “Microfinance” หรือการให้บริการทางการเงินระดับฐานราก เป็นหนทางให้หลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งความยากจน (Vicious cycle) ได้ ซึ่งองค์การสหประชาชาติยกย่องว่า “เป็นเครื่องมือที่ปลดปล่อยให้ผู้คนจำนวนมากพ้นจากความยากจนควบคู่กับการส่งเสริมให้คนจนมีบทบาทและส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม”


โดยที่เราเขื่อว่ามนุษย์สามารถพัฒนาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ความคิดของมนุษย์ไร้ขีดจำกัดและไม่สามารถกำหนดขอบเขตที่แน่นอนของการสร้างสรรค์ด้วยความคิดใหม่ๆได้ เนื่องจากความคิดของมนุษย์สามารถเติบโตและเชื่อมโยงหลอมรวมกับความคิดอื่นรอบตัวเกิดเป็นความคิดใหม่ๆ (วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร,2560) และคำกล่าวที่ว่า “มนุษย์เราเกิดมามีร่างกายและปัญญา สมองไม่เสมอกัน เมื่อเริ่มต้นก็เกิดความอยุติธรรมเสียแล้วเช่นนี้ ก็เป็นหน้าที่ของสังคมที่จะขจัดปัดเป่าความไม่เสมอภาคนั้นให้น้อยลงที่สุดที่จะกระทำได้” (ป๋วย อึ๊งภากรณ์, 2512) ทุกอย่างล้วนมีความหวังเสมอ ถ้าเราร่วมด้วยช่วยกันในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรกนก น้อยแนม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างวินัยทางการเงิน และการมีส่วนร่วมของสมาชิกกับความเข้มแข็งของสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 จังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร, 40(2), 121-137. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/79683

กิตติยาณี สายพัฒนะ. (2559). การมีส่วนร่วมในสถาบันการเงินชุมชนของคนจนในจังหวัดสระแก้ว. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา, 18(2), 12-40. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/202289

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2545). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชคลาภ มั่นคง. (2565). มิติความยากจน และรากเหง้าของความเหลื่อมล้ำ กับความยั่งยืนในการพัฒนา. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 12(24), 18-48. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/247893

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ .(2553). การคลังเพื่อสังคม จินตนาการและการวิจัยเพื่อสังคมที่ดีกว่า. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์พี.เอ. ลีฟวิ่ง

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). รายงานประจำปี ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/Report/pages/default.aspx

ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2512). รำลึก ๖ ปีแห่งการจากไปของอาจารย์ป๋วย. https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=inthedark&month=07-2007&date=10&group=22&gblog=10

พิชชา วีรกุลเทวัญ. (2558). ระบบการเงินรายย่อยกับปัญหาความยากจน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:93930

วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2560). สู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจไทยตามแนวพระราชดาริของ ร.9. (พิมพ์ครั้งที่1). สำนักพิมพ์วศิระ.

วรเวศม์ สุวรรณระดา, วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์. (2553). สวัสดิการยามชราบำนาญแห่งชาติ. (พิมพ์ครั้งที่1). มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย

วรเวศม์ สุวรรณระดา. (2557). ปฏิรูปบำนาญภาครัฐ. (พิมพ์ครั้งที่1). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลย์ลิกา ลิ้มสุวรรณ. (2561). ผลกระทบของสถาบันการเงินชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6 (1), 59-75

สฤณี อาชวานันทกุล .(2556). พฤติกรรมทางการเงินของคนไทย. https://thaipublica.org/2013/08/from-behavior-to-education/

สุชานุช พันธนียะ. (2562). แนวทางการปฏิรูปนโยบายสาธารณะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย:กรณีนโยบายระบบการเงินระดับฐานราก (Microfinance). วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 17 (1), 58-74

สุมาลี สันติพลวุฒิ. (2560). ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจและกรณีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยนคนปรับ. https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/the-world-changes-people/

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2558). นวัตกรรมในการพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน : แผนที่การเข้าถึงบริการทางการเงินระดับฐานราก. http://www2.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=9570

อภิจิต บาเนอร์จี. (2554). Poor Economics [เศรษฐศาสตร์ความจน] (ฉันทวิชญ์ ตัณฑสิทธิ์). (พิมพ์ครั้งที่1). สำนักพิมพ์ Salt.

อรทัย หนูแก้ว. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ ในเขตพื้นที่ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา, 13(1), 113-122. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/131079

Stuart Rutherford and Sukhwinder Arora. (2009). The poor and their money: microfinance from a twenty-first century consumer's perspective [การเงินคนจน] (สฤณี อาชวานันทกุล) (พิมพ์ครั้งที่1). สำนักพิมพ์ Salt.