ความเปราะบางในครัวเรือนไทยและความเหลื่อมล้ำของโอกาสการศึกษาของเด็ก: หลักฐานเชิงประจักษ์จากข้อมูลครัวเรือนและผลทดสอบสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา

Main Article Content

pudtan phanthunane
Direk Patmasiriwat
Pichit Ratchatapibhunphob
Meradee Inon
Witaya Kamuny
Darunee Pumkaew

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เสนอผลวิเคราะห์สถานการณ์ของความเปราะบางในครอบครัวและความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา โดยใช้สองแหล่งข้อมูล คือ การสำรวจครัวเรือน และผลทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-net) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม การลักษณะการกระจาย ผลการศึกษาพบว่าครัวเรือนที่มีสมาชิกที่เป็นเด็กมีแนวโน้มจะมีความเปราะบางในเกือบทุกประเภทสูงกว่าครัวเรือนที่ไม่มีสมาชิกที่เป็นเด็ก รายได้ที่แตกต่างกันของครัวเรือนส่งผลต่อค่าใช้จ่ายหรือการลงทุนในการศึกษาที่แตกต่างกัน ในขณะที่คะแนนสอบ O-net สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำของผลลัพธ์ทางการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสถานศึกษา กล่าวคือโรงเรียนโรงเรียนในสังกัดกระทรวงอุดมศึกษา (โรงเรียนสาธิต) และการศึกษาเอกชน มีผลสอบสูงกว่าโรงเรียนประเภทอื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม โรงเรียนในสังกัดกระทรวงอุดมศึกษากระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพปริมณฑลและจังหวัดใหญ่ มิได้กระจายในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ตอนท้ายบทความเสนอข้อคิดเห็นการจัดสรรเงินอุดหนุนที่แตกต่างสำหรับพื้นที่และนักเรียนยากจน มากกว่าการจัดสรรสูตรเดียวเท่ากันทั่วประเทศ อาจจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาอย่างน้อยระดับหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hanushek, E. A., Ruhose, J., & Woessmann, L. (2017). Economic Gains from Educational Reform by US States. Journal of Human Capital,

(4), 447-486.

Ligon, E., & Schechter, L. (2003). Measuring Vulnerability. The Economic Journal, 113(486), C95-C102.

http://www.jstor.org/stable/3590050

Schultz, T. W. (1962). Reflections on Investment in Man. In Universities-National Bureau Committee for Economic Research (Ed.),

Investment in Human Beings (Vol. 70, No. 5, pp. 1-8). The Journal of Political Economy. http://www.nber.org/chapters/c13570

United Nations Development Programme. (2014). Human Development Report 2014: Sustaining Human Progress: Reducing

Vulnerabilities and Building Resilience.

กนกวรรณ ชุมอินทร์ และพิไลวรรณ ประพฤติ. (2560). ความเปราะบางของครัวเรือนเกษตรกรในพื้นที่ต้นน้ำบ้านโหล๊ะหาร อ.ป่าปอน จ.พัทลุง.

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(3), 159-167.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, พิชิต รัชตพิบุลภพ, สุวิมล เฮงพัฒนา, คมวิทย์ ศิริธร, ภคพร วัฒนดำรงค์, มีชัย ออสุวรรณ, พุดตาน พันธุเณร, วิทยา คามุณี, ณัฐพล สร้อยสมุทร,

วสุ สุวรรณวิหค, ภาวิณี สตาร์เจล, และเมรดี อินอ่อน. (2565). การเจริญเติบโตของจังหวัดและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย เล่ม 3. พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, สุวิมล เฮงพัฒนา, และพุดตาน พันธุเณร. (2554). การลงทุนในเด็กของครัวเรือนไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 3(5),

- 26.

ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี และภิญญา อนุพันธ์. (2564). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.

วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(2), 63-68.

บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2560). ความเปราะบางของครัวเรือนในเมืองอุดรธานีภายใต้บริบทการขยายตัวของเมือง. วารสารพัฒนาสังคม, 19(2), 69-92.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 8-14.

วรธา มงคลสืบสกุล. (2565). การเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขของไทย: ภาพสะท้อนและความเหลื่อมล้ำของกลุ่มเปราะบางทางสังคม. วารสารมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์, 6(1), 55-69.

สมศรี สง่าศิลป์. (2548). การศึกษาขั้นพื้นฐาน : บทที่ 1 ประวัติและพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6

กันยายน 2566, จาก http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF308(47)/EF308(47)-1.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562. http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/

ด้านสังคม/รายได้รายจ่ายครัวเรือน/ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน.aspx

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา

http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2562.pdf

เอกรินทร์ ต่วนศิริ และอันวาร์ กอมะ. (2563). ความสัมพันธ์ที่เปราะบางระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในสังคมไทย. Journal of Islamic Studies, 10(2), 14-26.