ปัญหาและพฤติกรรมการใช้บริการขนส่งสินค้าและพัสดุระหว่างประเทศไทย กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

วรรณสิทธิ์ สุวรรณ์
Thanet Wattanakul
Manit Phiukhao
John Murphy

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อทราบพฤติกรรมการใช้บริการขนส่งสินค้าและพัสดุระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อทราบปัญหาในการใช้บริการ 3) ศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างปัญหาในการใช้บริการ ของผู้ใช้บริการที่เป็นลักษณะ B2B B2C และ C2C วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ไคสแคว์ (Chi-Square Test: ) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 ตัวอย่าง


ผลการศึกษาความแตกต่างของปัญหาระหว่างกลุ่มผู้ใช้บริการ พบว่า ปัญหาการไม่สามารถติดตามสถานะสินค้าและพัสดุที่อยู่ระหว่างขนส่ง ปัญหาสินค้าและพัสดุชำรุดเสียหายปัญหาการไม่สามารถชำระเงินด้วยสกุลเงินที่ถือครอง และปัญหาการได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน แตกต่างกัน ข้อเสนอแน่ะจากผลการวิจัย ผู้ใช้บริการต้องการให้ผู้ประกอบการขนส่งเพิ่มกระบวนการให้บริการ คือ 1) เพิ่มเติมและปรับปรุงระบบติดตาม การจัดส่งแบบเรียลไทม์แก่ผู้ใช้บริการ 2) เสนอตัวเลือกการสั่งซื้อโดยตรงผ่านหลายแพลตฟอร์มเพื่อให้กระบวน การสั่งซื้อและจัดส่งสะดวกยิ่งขึ้น 3) ใช้กลยุทธ์การกำหนดราคาที่ยืดหยุ่นซึ่งตอบสนองต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อลดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ 4 ) ปรับปรุงคุณภาพของบริการเพื่อลดความเสียหายและการสูญเสียของสินค้าและพัสดุ 5) เพิ่มช่องทางและรูปแบบการชำระเงินเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถชำระเงินได้ง่ายขึ้น และ    ลดผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน 6) เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของกลุ่มผู้ใช้   ที่แตกต่างกัน (B2B, B2C และ C2C) ผู้ประกอบการควรมีกระบวนการให้บริการแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

EXIM E-NEWS. (2560). พลิกข้อจำกัดการขนส่งใน สปป.ลาวสู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ ปีที่ 12 ฉบับที่ 12.

สืบค้นจาก https://www.exim.go.th

EXIM E-NEWS. (2557). สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาวเชื่อมโอกาสการค้าที่เติบโตไม่หยุดยั้ง ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 .

สืบค้นจาก https://www.exim.go.th/eximinter

Zimund, W. G. (2003). Business Research Methods. (7th edition). Mason, Ohio: Tomson/ South-Western.

กาญจนา โชคถาวร. (2544). ปัญหาการค้าชายแดนไทย-ลาว ในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5,3

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (กันยายน - ธันวาคม 2544), 48-81. สืบค้นจาก https://cmudc.library.cmu.ac.th

กัลยกร เทียนชัย และ สุธาศิณี สุศิวะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการใช้บริการและพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการธุรกิจขนส่งสินค้าบริเวณจุดผ่าน

แดนถาวร ด่านสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว 1 จังหวัด หนองคาย. Journal of Roi Kaensarn Academi Vol.7 No.2 February 2022. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org.th

ดวงสมร ดวงแก้ว. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกในจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก

http://repository.cmu.ac.th

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุพีเรียพริ้นติ้งเฮาส์.