การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ เสรีวัตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กิตติ ลี้สยาม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วัฒนา ชยธวัช คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

โมบายแอปพลิเคชัน , แอดดี้โมเดล , คอ บ่า ไหล่ , นวด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของโมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ โดยดำเนินการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นการเก็บข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน และเนื้อหาการนวดไทย ระยะที่ 2 การออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ออกแบบตามแนวคิดการพัฒนาออกแบบสื่อการเรียนรู้โดยใช้ ADDIE Model ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และทดสอบประสิทธิภาพของโมบายแอปพลิเคชันตามเกณฑ์ 80/80 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ประกอบด้วย เนื้อหา 5 บทเรียน ได้แก่ 1) กายวิภาคศาสตร์ของคอ บ่า ไหล่ 2) การนวดเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ศีรษะ 3) การนวดเพื่อรักษาอาการปวดคอและโค้งคอ 4) การนวดเพื่อรักษาอาการปวดไหล่ และ 5) การนวดตนเองเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ โดยเผยแพร่ผ่านระบบ iOS และ Android OS เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง การเข้าสู่ระบบโดยการสมัครเป็นสมาชิกและลงชื่อเข้าสู่ระบบเพื่อป้องกันการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและตรวจสอบผลคะแนนเป็นรายบุคคลได้ สำหรับบทเรียน ประกอบด้วย ข้อความ กราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงบรรยาย

2. ผลการประเมินโมบายแอปพลิเคชัน 1) ผลการประเมินคุณภาพโมบายแอปพลิเคชันในภาพรวมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (M = 4.40, SD = 0.65) 2) การทดสอบประสิทธิภาพของโมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ มีประสิทธิภาพ 80.56/82.41 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

References

เกตุแก้ว ยิ่งยืนยง. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ เรื่อง เซลล์และโครงสร้างเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. RMUTT Repository. https://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3707

จุฑานาฏ อ่อนฉ่ำ, และดลฤทัย บุญประสิทธิ์. (2561). การศึกษาการนวดไทย 4 ภาค: การวิเคราะห์องค์ความรู้และการศึกษาวิธีการปฏิบัติเชิงประจักษ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 3482-3494. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/154831

เปรมรัตน์ พูลสวัสดิ์, ยุวธิดา ชิวปรีชา, จิรานันท์ เข็มกลัด, และวรวัฒน์ จันทร์ตัน. (2566). แอปพลิเคชันสำหรับการบันทึกการตรวจสุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 3(1), 77-87. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/246692

มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา, 134(ตอนพิเศษ 271ง), หน้า 8-12.

รัฐไท พรเจริญ, วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน, ธนาทร เจียรกุล, และเพ็ญสิริ ชาตินิยม. (2565). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ วิสาหกิจชุมชนอาภานวดแผนไทย จังหวัดอ่างทอง. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences, 2(2), 1-18. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/The_New_Viridian/article/view/249572

รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2559). ผลการใช้แอปพลิเคชั่นสำหรับสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษบนแท็บเล็ตวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1030-1045. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/66974

วิภาดา แก้วคงคา, และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2560). การพัฒนารูปแบบโมบายเลิร์นนิ่งแบบร่วมมือกับการใช้เหรียญตราดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(2), 239-254. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/142928

Abu-AlSondos, I. A., Salameh, A. A., Alkhwaldi, A. F., Mushtaha, A. S., Shehadeh, M., & Al-junaidi, A. (2023). Evaluating mobile e-learning systems acceptance: An integrated model. International Journal of Interactive Mobile Technologies, 17(16), 30-47. https://doi.org/10.3991/ijim.v17i16.42679

Sweetline, B. C., Vijayakumaran, C., & Samydurai, A. (2023). Patient monitoring for personalized mobile health (PMH) based on medical virtual instruments. International Journal of Interactive Mobile Technologies, 17(16), 82-94. https://doi.org/10.3991/ijim.v17i16.42687

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-18

How to Cite

เสรีวัตร จ., ลี้สยาม ก., ชยธวัช ว., & มิ่งศิริธรรม เ. (2024). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต. วารสาร อีซีที เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 19(27), 78–92. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ectstou/article/view/272143