การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ
คำสำคัญ:
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีน, กิจกรรมบทบาทสมมติ, นักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์เป้าหมายที่ตั้งไว้ E1/E2 = 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 หมู่เรียน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ 5 สถานการณ์ คือการแนะนำตัว ครอบครัว
ของฉัน งานอดิเรก ถามทาง และซื้อของ จำนวน 5 แผน ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3ท่าน ตรวจให้คะแนนผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (= 4.73) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งใช้วัดทักษะการพูดภาษาจีน ที่มีค่าค่าดัชนีความสอดคล้องพบว่า 1.00 ทุกข้อ ค่าอำนาจจำแนกมากกว่า 0.2 ทุกข้อ และค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.2-0.8 เมื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับโดยวิธีของ Kuder-Richardson KR20 เท่ากับ 0.990 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการสอนหรือการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ตรวจให้คะแนนผลการประเมินความเหมาะสมซึ่งมีความเหมาะสมทุกรายการประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ สถิติทดสอบ t-test (One-Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1.ประสิทธิภาพของการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีประสิทธิภาพของ E1/ E2 เท่ากับ 85.12/85.29 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2. ทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.36, S.D. = 0.56) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านเนื้อหา มีความพึงพอใจสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.55, S.D. = 0.54) อีก 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก กล่าวคือด้านด้านผู้สอน (
= 4.42, S.D. = 0.56) ด้านการ วัดและประเมินผล (
= 4.23, S.D. = 0.60) และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (
= 4.23, S.D. = 0.61) ตามลำดับ
คำสำคัญ : การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีน , กิจกรรมบทบาทสมมติ, นักศึกษาวิชาเอกภาษาจีน
References
Bouaziz, Souhila. (2014) The Use of Role-Plays as a Teaching Technique to Develop Foreign Language Learners’ Oral Proficiency Case Study: Second Year Students at Biskra University. Mohamed Kheider University of Biskra.
ปิยจิตร สังข์พานิช. 2560. การพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติสําหรับนักศึกษา วิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ ฉบับที่ ๑๓๔ ปีที่ ๔๐ เล่ม ๒ (ก.ค.–ธ.ค. ๒๕๖๐, หน้า 41-54)
ศันสนะ มูลทาดี, ทวีศักดิ์ ขันยศ และชนม์ชกรณ์ วรอินทร์ (2559) การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีแสดงบทบาทสมมุติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, หน้า 68-83.
รุ่งฤดี แผลงศร. 2559. การใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. ปีที่ 36 ฉบับที่ 2, หน้า 191-208.
ปิยะพงษ์ วงศ์ขุม และ ปริญญา ทนันชัยบุตร (2556) การพัฒนาทักษะการฟัง และการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบ 4 MAT. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 36 ฉบับที่ 4, ตุลาคม - ธันวาคม 2556. หน้า 53-60.
Ziyan Tang, สิทธิพล อาจอินทร์ (2559) การพัฒนาทักษะการฟัง และการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบทางตรงร่วมกับเทคนิคเกม. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบัับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, มกราคม - มีนาคม 2559. หน้า 7-12.
นารีนารถ กลิ่นหอม, กฤตพงศ์ มูลมี, และ วริยา อินทร์ประสิทธิ์ (2560) การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-Based Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 40 ฉบับที่ 2, มกราคม - มีนาคม 2559. หน้า 7-12.
สุรัสวดี สุทธภักดี. (2560) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาจีนและความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการเรียนการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
เยาวพร ศรีระษา และ จิระพร ชะโน.การจัดกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร CLT ประกอบชุดสื่อประสม เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
ชุติมา วุฒิศิลป์ และ ประสพชัย พสุนนท์ (2558, หน้า 2069). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2558. หน้า 2066-2079
สุรัสวดี สุทธภักดี. (2560) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาจีนและความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการเรียนการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม