การศึกษาความเข้าใจความรู้เนื้อหาผสานวิธีการสอน และเทคโนโลยี สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1; THE STUDY OF TECHNOLOGICAL PEDAGOGICAL AND CONTENT KNOWLEDGE (TPACK MODEL) OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER KAMPHAENG PHET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

ผู้แต่ง

  • นิศรา กันเรียน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สุกัญญา แช่มช้อย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความรู้เนื้อหา, วิธีสอน, เทคโนโลยี, การบริหารการศึกษา, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเข้าใจความรู้เนื้อหาผสานวิธีการสอน และเทคโนโลยี (TPACK Model) สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำแนกตามเพศ ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์การบริหารงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำนวน 136 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาการบูรณาการความรู้เนื้อหาผสานวิธีการสอน และเทคโนโลยี สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบศึกษาการบูรณาการความรู้เนื้อหาผสานวิธีการสอน และเทคโนโลยี สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน มีเพียงด้านการบูรณาการความรู้เนื้อหาผสานวิธีการสอน และเทคโนโลยี ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

จารุวรรณ สุขนิตย์. (2555). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบสารสนเทศในสถานศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร.
จีรวรรณ เล่งพานิชย์. (2551).ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
ธิติมา ลิ่มผดุง. (2551). พฤตกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
นิพนธ์ กินาวงศ์. (2543). หลักการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก : ตระกูลไทย.
บรรจบ บุญจันทร์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญช่วย สายราม.(2558). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษายุคไร้พรหมแดนhttps://sites.google.com/site/narubadininterschool/phl-ngan/bthbath-khxng-phu-brihar-sthan-suksa-yud-ri-phrhm-daen สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2558, ตุลาคม-ธันวาคม). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี : การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(4), 216-224
อนุวัฒน์ ปานพรม. (2555). สมรรถนะทางด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อนุศร หงส์ขุนทด. (2558). ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge: TPK). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2558, จาก https://pitcforteach.blogspot.com/2015/03/tpack-model.html
CEDA (2013). Women in Leadership: Understanding the gender gap. [online] Available at:https://adminpanel.ceda.com.au/folder/Service/Files/Documents/15355~cedawiljune% [10 Mar 2016]
Cheamchoy, S., Fitgerald, R. and Sofo, F. (2015). The relationships between Thai Principals’ Understanding of Mobile Technology in Education and Technology Leadership. University of Canbera, Canbera.
Mishra, P. and Koehler, M., (2011).The Technological Pedagogical Content Knowledge Framework. Handbook of Research on Education Communications and Technology. Springer Science +Business Media New York.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย