การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่ม 11 ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนพระปริยัติธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่ม 11 ของประเทศไทย (2) และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่ม 11 ของประเทศไทย หน่วยที่ศึกษาได้แก่โรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่ม 11 ของประเทศไทย 41 โรงเรียนจาก 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษ ประชากรผู้ให้ข้อมูล จำนวน 340 รูป/คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ จำนวน 41 รูป รองผู้อำนวยการ จำนวน 41 รูป ครูประจำการ จำนวน 134 รูป/คน ครูพิเศษ จำนวน 83 คน และครูบาลี จำนวน 41 รูป กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล จำนวน 181รูป/คน จากการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan (1970) สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือ คือ แบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์เนื้อหาสภาพบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่ม 11 ของประเทศไทยในด้านหลักสูตร ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านประกันคุณภาพการศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่ม 11 ของประเทศไทย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา
1. ในภาพรวมสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่ม 11 ของประเทศไทย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักสูตร ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอน
2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่ม 11 ของประเทศไทย ได้แก่ 2.1) จัดทำหลักสูตรให้สามารถวัดองค์ประกอบของเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องทั้งทางวิชาการและด้านพระพุทธศาสนาตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2.2) จัดการเรียนการสอนให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้ทั้งในด้านวิชาการและด้านพระพุทธศาสนา 2.3) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในด้านวิชาการและด้านพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมตามตัวบ่งชี้ในหลักสูตร ความต้องการของผู้เรียน โรงเรียน 2.4) ออกแบบวิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพและความเป็นจริงและจากแฟ้มสะสมผลงานเพื่อวัดความรู้ทักษะและเจตคติทั้งด้านวิชาการและด้านพระพุทธศาสนา
Downloads
References
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2560). คะแนนผลการทดสอบโอเน็ต-บีเน็ตโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สมาน อัศวภูมิ. (2553). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ แนวคิด ทฤษฎีและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5).
อนงค์ พืชสิงห์. (2553). การพัฒนาระบบการบริหารที่มุ่งประสิทธิผลในโรงเรียนศึกษา
Gilpatrick, R. H. (2010). Classroom management strategies and behavioral interventions to support academic achievement. Minnesota : Walden University.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 30(3), 607-610.
Translated Thai References (ส่วนที่แปลรายการอ้างอิงภาษาไทย)
Assawaphum, S. (2010). Modern education administration. Concepts, theory and practice. (5th ed.). Ubon Ratchathani, Ubon Ratchathani Offset Printing. [In Thai]
Division of Buddhism. (2018). Handbook of Buddhist Scripture School. Retrieved from 25 October 2018, search from http://deb.onab.go.th/index.php. [In Thai]
National Educational Testing Institute. (2017). The test scores of the O-NET – B-NET Buddhist Scripture School General Education Department. Retrieved from 25 October 2018, search from http://www.niets.or.th/th/. [In Thai]
Office of the Education Council. (2007). Educational quality development strategy of the Ministry of Education. Bangkok: Office of the Education Council. [In Thai]
Puechsingha, A. (2010). Development of a management system aimed at effectiveness in education schools. (Ph.D’s Thesis, Mahasarakham University) [In Thai]
Roongpanich, C. (2009). Analysis of factors affecting academic administration efficiency of basic education institutions Under the Office of Phra Nakhon Si Ayutthaya Educational Service Area 1 and 2. (Master’s thesis, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University). [In Thai]
Sanguannam, C. (2010). Theories and practices in administration. (2nd ed.). Bangkok: Bookpoint. [In Thai]
Sararattana, W. (2001). Administrative principles, theories of educational issues. And analysis Thai Educational Organization. Bangkok: Thipwisut. [In Thai]
Thammakrug, K. (2017). Educational management guidelines for promoting national education Bnet of Buddhist Scripture School Department of General Education Khon Kaen. Khong Chi Mun Local Journal, 4(1). [In Thai]