การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2

การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

ผู้แต่ง

  • จตุรงค์ สุวรรณแสง Faculty of Education, Kasetsart University

คำสำคัญ:

การบริหารความขัดแย้ง, ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21, การบริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารความขัดแย้งของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 2) เปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาดังกล่าว จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการบริหารความขัดแย้ง ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษานี้ จำนวน 260 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 240 คน เลือกโดยการสุ่มแบบง่าย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 5 คน เลือกแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการร่วมมือเป็นอันดับสูงสุด รองลงมาคือ การใช้หลักเหตุผล ส่วนการหลีกเลี่ยงเป็นอันดับต่ำสุด 2) การเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาดังกล่าวจำแนกตามเพศและประสบการณ์ในการบริหาร โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการจำแนกตามวุฒิการศึกษาและขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เห็นว่า ควรเลือกใช้วิธีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เน้นหลักเหตุผลและสร้างความร่วมมือ

References

Chotyannon, S. (2007). The Roles of Sex, Gender-Role, and Degrees of Individualism Collectivism in Regret and Regulatory Focus. (Master's thesis, Chulalongkorn University). [in Thai]

Kenneth W. Thomas & Ralph H. Kilmann. (2010). Thomas-Kilmann Instrument. New York: Harper and Row.

Khamsaen, O. (2011). Conflict Management of Schools Administrators under the Office of Uttaradit Primary Educational Service Area 1. Journal of Social Sciences Research, 2(2), 94-111. [in Thai]

Khechonnan, N., & Samoechai, C. (2007). Management. Bangkok: Seeducation. [in Thai]

Khianrupkhrut, J. (2015). Conflict Managenent Administrators under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. (Master's thesis, Burapha University). [in Thai]

Phaophan, C. (2016). School Administrators in 21 Century. Retrieved September 16, 2019, from http://www.edu.ksu.ac.th [in Thai]

Phibun, S. (2008). Research and development for teachers and educational personnel. Nonthaburi: S. Phibun. [in Thai]

Phongsathit, M. (2013). Conflict management within the organization. Retrieved September 14, 2019, from http://www.edu.ksu.ac.th [in Thai]

Phutachot, N. (2013). Organizational behavior. Bangkok: V-Print 1991 Company Limited.

[in Thai]

Sisaat, B. (2013). Basic research. Bangkok: Wiriyasan. [in Thai]

Thongphuban, W., & Akkharaphichakun, O. (2016). The Study of Conflict on Behavior Management Style of Schools Administrators under Buriram Primary Educational Service area 3. Journal of the Development and Development Valaya Alongkorn under the royal patronage, 11(1), 295-304. [in Thai]

Tiyao, S. (2008). Management principles. Bangkok: Thammasat University Printing House. [in Thai]

Wattanasap, W., & Wattanasap, R. (2009). Resolving conflicts in schools. Bangkok:

King Prajadhipok's Institute. [in Thai]

Wisalaphon, S. (2010). Conflict Management. Retrieved September 14, 2019, from http:// www.edu2.stou.ac.th [in Thai]

Witudom, W. (2008). Organizational behavior. Nonthaburi: Thanatat printing. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย