การพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนการสอน ของครูวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

การพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนการสอน ของครูวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ผู้แต่ง

  • Patcharada Naka มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

กิจกรรมการฝึกอบรมแบบผสมผสาน, แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน, ความรู้ความสามารถในการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนการสอนของครูวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนการสอนของครูวิทยาลัยนาฏศิลป 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 20 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) กิจกรรมการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 3) แบบประเมินคุณภาพกิจกรรมการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 4) สื่อการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 5) แบบประเมินคุณภาพสื่อการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 6) แบบวัดความรู้จากการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 7) แบบประเมินความสามารถในการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนการสอน 8) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมแบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด (  = 4.74, SD = 0.29) 2) ผลการประเมินความรู้จากการฝึกอบรมแบบผสมผสาน หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการประเมินความสามารถในการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนการสอนของครูวิทยาลัยนาฏศิลป โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.78, SD = 0.45)

Downloads

Download data is not yet available.

References

Akarawang, C. (2015). The development of a blended training model to enhance human competency in information communication and technology for teacher in the office of the basic education commission. (Doctoral dissertation, Mahasarakham University). [in Thai]

Benjateprassamee, P. ICT Teacher Competency in the 21st Century. Retrieved May 17, 2018, from https://www.gotoknow.org/posts/502755

Bunmerod, P. (2018). The development of blended learning activity with creative problem solving developing creatively photography project of bachelor student of Silpakorn University. (Master’s thesis, Silpakorn University). [in Thai]

Chandavimol, P. (2013). Development of a blended training model with knowledge management and action learning principles to develop training program design competencies of personnel development staff. (Doctoral dissertation, Chulalongkorn University). [in Thai]

Khemmani, T. (2008). Science of Teaching: Knowledge of Efficient Learning Process Management. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Mansukpol, W. (2014). The development of e-learning model using collaborative learning to enhance e-learning instructional design competency for instructors of higher education. (Doctoral dissertation, Silpakorn University). [in Thai]

Nammanee, M. (2016). The development of training packages: The development of learning applications by using Think-Pair-Share technique for elementary school teacher. (Master’s thesis, Rajabhat Maharasakham University). [in Thai]

Panich, V. (2012). Way of learning for students in the 21st century. Bangkok: Tathata Publication. [in Thai]

Paruang, S. (2011). Development of information and communication technology competency of education students. (Doctoral dissertation, Chulalongkorn University). [in Thai]

Srisong, A. (2016). A development of blended training packages on information systems program for teachers of Assumption college Sriracha. (Master’s thesis, Burapha University). [in Thai]

Surametitanon, P. (2014). The development of online training on Good Manufacturing Practice (GMP) for supervisor of CPRAM Limited (bakery). (Master’s thesis, Silpakorn University). [in Thai]

Sujaritthanarugse, P. (2016). Development of a training model integrating information and communication technology into innovation and lateral thinking processes to enhance creative instructional design ability for university instructors. (Doctoral dissertation, Chulalongkorn University. [in Thai]

Tantiwitkoson, W. (2017). The development of blended learning activity model using GRIS technique to enhance Thai reading competence. (Master’s thesis, Silpakorn University). [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย