แนวทางการสร้างทีมงานในงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน

แนวทางการสร้างทีมงานสำหรับงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน

ผู้แต่ง

  • กันยารัตน์ คำสิทธิ Faculty of Education, Naresuan University

คำสำคัญ:

การสร้างทีมงาน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสร้างทีมงานและแนวทางการสร้างทีมงานในงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน โดยวิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาการสร้างทีมงานในงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 306 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน แบ่งเป็น ผู้บริหาร 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และครู 276 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูแต่ละโรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการสร้างทีมงานในงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า การสร้างทีมงานในงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.09) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการรับรู้ปัญหาของทีมงาน และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการประเมินผลงานของทีมงาน และแนวทางการสร้างทีมงานในงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผู้บริหารควรจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดประชุม เพื่อพูดคุย สอบถามถึงปัญหา โดยเปิดโอกาสให้ครูได้แสดงความคิดเห็น และร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ทั้งนี้ผู้บริหารควรการสร้างขวัญและกำลังใจอย่างสม่ำเสมอ ให้ครูมีความสนใจในการปฏิบัติงาน และประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครู ด้วยความยุติธรรม โปร่งใส

References

Department of Mental Health. (2003). Manual of Student Care and Support System for Secondary School. Bangkok: Office of Printer house the War Veterans Organization of Thailand. [in Thai]

Kochadet, S. (2016). Problem and Guodelines for Development of Developteam Building in School Kaenghangmaew District the Office of Chantaburi Primary Educational Service Area Office 1. (Master’s thesis, Burapha University). [in Thai]

Masuk, S. (2017). The Operation on the Student Assistant System of Rayong Provincial Administrative Organization. (Master’s thesis, Burapha University). [in Thai]

Mettkarunjit, M. (2016). Teamwork. Bangkok: Odeon Store. [in Thai]

Nunsiri, P., & Chaowachai, S. (2021). The Study of State and Approaches of School Administrator Teams Building under the Secondary Education Service Area Office 38 Sukhothai Province. Journal of Education Naresuan University, 23(2),

-216. [in Thai]

Phromsri, C. (2014). Comtemporary Leadership. Bangkok: Panyachon. [in Thai]

Riewmongkhon, T. (2016). Teamwork. Bangkok: Ramkhamhaeng University. [in Thai]

Srisa-ard B. (2011). Basic for Research. Bangkok: Suweeriyasas. [in Thai]

The Secondary Educational Service Area Office Nan. (2020). Annual Action Plan 2020. Nan: Policy and Planning Group of the Secondary Educational Service Area Office Nan. [in Thai]

Wiriyaphan, T. (2010). Team management and problem solving. Bangkok: Sahathammik. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย