การศึกษามาตรฐานแรงงานสัมพันธ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ : การสะท้อนและแนวทาง การประยุกต์ใช้เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ การปฏิรูปกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย ประเทศในทวีปเอเชีย และประเทศในประชาคมอาเซียน
การศึกษามาตรฐานแรงงานสัมพันธ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ : การสะท้อนและแนวทาง การประยุกต์ใช้เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ การปฏิรูปกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย ประเทศในทวีปเอเชีย และประเทศในประชาคมอาเซียน
คำสำคัญ:
มาตรฐานแรงงานสากลด้านแรงงานสัมพันธ์; การปฏิรูปกฎหมาย กฎหมายแรงงาน; อนุสัญญาและข้อแนะนำขององค์การแรงงานระหว่าง ประเทศบทคัดย่อ
นับเป็นเรื่องที่ยึดถือกันโดยทั่วไปได้ว่า การปฏิรูปกฎหมายจะนำมาซึ่งการปฏิรูปความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ที่เกี่ยวข้องกัน อีกทั้งบริบททางแรงงานสัมพันธ์ย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมทางสังคมเศรษฐกิจและการเมือง ในส่วนของแรงงานสัมพันธ์ไทยและของประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ในฐานะประเทศเหล่านี้เป็นสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องค้นหาว่าเนื้อหาสาระสำคัญของมาตรฐานแรงงานสัมพันธ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นอย่างไร และจะใช้ประโยชน์จากมันอย่างไรในการปฏิรูปกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ของประเทศ อันจะช่วยเสริมส่งหรือยังความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ ในบรรดามาตรฐานแรงงานสากลของ ILO ซึ่งลงหลักปักฐานอยู่ในอนุสัญญาของ ILO นั้น มาตรฐานแรงงานสัมพันธ์ได้ถูกประกาศใช้มานานกว่าครึ่งศตวรรษ โดยขอบเขตหลักของมาตรฐานแรงงานดังกล่าวกำหนดบทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งสามฝ่าย คือ นายจ้าง คนทำงาน และรัฐ ผ่านเนื้อหาในสิบอนุสัญญาและข้อแนะนำ คือ 1) เสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว 2) การเจรจาต่อรองร่วม การส่งเสริม และข้อตกลงร่วม 3) การไกล่เกลี่ยและการอนุญาโตตุลาการโดยสมัครใจ 4) ความร่วมมือและการปรึกษาหารือในระดับสถานประกอบการธุรกิจ อุตสาหกรรม และระดับชาติ 5) การสื่อสารภายในสถานประกอบการ 6) ผู้แทนแรงงาน 7) การตรวจสอบการร้องทุกข์ 8) การปรึกษาหารือไตรภาคี 9) การบริหารงานแรงงาน และ 10) แรงงานสัมพันธ์ในภาคบริการสาธารณะ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหามาตรฐานกลางสากลเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์ ทั้งสามชั้น คือ ระดับ สถานประกอบการ ระดับอุตสาหกรรม และระดับชาติ และการกล่าวถึงการให้การศึกษาแก่นายจ้าง คนทำงาน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยสถาบันการศึกษาองค์กรแรงงานและนายจ้างและอื่นๆ เกี่ยวกับมาตรฐานเหล่านี้ อันถือเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งสำหรับการปฏิรูปกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ นอกจากนี้ การประยุกต์ใช้มาตรฐานแรงงานสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้ากับกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ของประเทศ จะมีคุณค่าต่อการสร้างความสัมพันธ์อันยั่งยืน ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเป็นประโยชน์ไม่เฉพาะต่อนายจ้าง คนทำงาน และรัฐ แต่ยังรวมถึงสาธารณชนทั่วไปอีกด้วย
Downloads
References
industrial and national levels (ILO Recommendation No. 94, 1952 and No. 113, 1960)
Collective Bargaining, Promotion and Agreement
(ILO Convention No. 98, 1949, Recommendation No.
163, 1981 and No. 91, 1951)
Communications within the Undertaking Recommendation,
1967 (No. 129)
Dunlop, J. T. (1958/1993). Industrial Relations Systems (revised
edition). New York : Holt.
Examination of Grievances Recommendation, 1967 (No. 130)
Hyde, A. (1990) “A Theory of Labor Legislation”. Buffalo Law
Review, 38 (1990): 383-464.
ILO, The International Labour Standards:
Freedom of Association and Protection of the Right to
Organize (ILO Convention No. 87, 1948)
Kennedy, D. (1981) “Critical labor law theory: A comment”
Berkley Journal of Employment and Labor Law, Vol. 4, Issue 3, Article 8, June 1981.
Labor Administration (ILO Convention No. 150, 1978
and Recommendation No. 158, 1978)
Labor Relations, Public Service (ILO Convention No. 151, 1978
and Recommendation No. 159, 1978)
Lee, Yong-Shik “General Theory of Law and Development”,
Cornell International Law Journal, Vol. 50, No. 3,
(November 30, 2017), Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=2951317.
Voluntary Conciliation and Arbitration
(ILO Recommendation No. 92, 1951)
Workers' Representatives (ILO Convention No. 135, 1971
and Recommendation No. 143, 1971)
Tripartite Consultation (ILO Convention No. 144, 1976)
Suttawet, C. and Suriya Y. (2014) Labour Standards and Trade-The Case of Thailand. Published by the
International Institute for Trade and Development
(www.itd.or.th), Publish Date 13/02/2015.
Suttawet, C. (2009) The Middle Way Industrial Relations
Models for Thailand, a Research Report, granted by the Office of Permanent Secretary, Ministry of Labor, Thailand.
Weber, M. (1958). "The three types of legitimate rule". Berkeley Publications in Society and Institutions, 4 (1): 1-11. Translated
by Hans Gerth. [Appeared before in a German publication, Weber, M. (1922) Gesammelte Aufsaetze sur Wissenschaftslehre
(GAW) Tuebingen., See also in http://www.zeno.org/Soziologie/M/Weber,+Max/Schriften+zur+Wissenschaftslehre/Die+drei+reinen+Typen+der+legitimen+Herrschaft]