กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาตาม แนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
คำสำคัญ:
สถาบันอุดมศึกษา; การบริหารนโยบาย; มหาวิทยาลัยสีเขียวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อมโยงของแนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว 3) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหาสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และ4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มประชากร ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโดย UI Green Metric World University Ranking ปี 2015 จำนวน 19 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ กระบวนการบริหารสถาบันอุดมศึกษา การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และการพัฒนากลยุทธ์ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพที่พึงประสงค์ทุกด้าน 3) จุดแข็ง ได้แก่ การวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการศึกษา ความยั่งยืนทางด้านโภชนาการ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อชุมชน จุดอ่อน ได้แก่ การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการของเสีย การจัดการน้ำ การสัญจร นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ระบบการจัดการและการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมการลงทุน ธรรมาภิบาลและการบริหารงาน โอกาส ได้แก่ ด้านสังคมและด้านเทคโนโลยี อุปสรรค ได้แก่ ด้านการเมืองและนโยบายของรัฐและด้านเศรษฐกิจ 4) กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 4.1) กลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน 4.2) กลยุทธ์การขับเคลื่อนการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว 4.3) กลยุทธ์การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน และ 4.4) กลยุทธ์การเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
Downloads
References
นิเทศ สนั่นนารี และประสารโชค ธุวะนุติ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการ
บริหารจัดการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารการบริหารปกครอง, 5 (1): 97 - 120
ปิยะมาศ สามสุวรรณ. (2555). การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการจัดการ
สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2555). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน:
พื้นฐานการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันคลังสมองของชาติ . (2557). เอกสารประกอบการประชุม Green
Campus Workshop. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 ชั้น M โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). แผนพัฒนาการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). (ออนไลน์). จากhttp://www.mua.go.th/~bpp/developplan/download/higher_edu_plan/สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2556.
McNamara, K.H. 2008. Fostering Sustainability in Higher Education:
A Mixed-Methods Study of Transformative Leadership and Change Strategies. Doctoral dissertation, Philosophy in Leadership & Change program, Antioch University.
United Nations Environment Programme. (2013). Green Universities
Toolkit Transforming Universities into Green and Sustainable Campuses: A Toolkit for Implementers. Shanghai: Tongji University.
Translated Thai References
Kanjanawasee, S. (2009). Evaluation Theory. Bangkok.
Chulalongkorn Print Publishing.
Knowledge Network Institute of Thailand. (2014). Workshop on
Green Campus. February 20, 2014 at Chamchuri 2 Room, M Floor, Pathumwan Princess Hotel.
McNamara K.H. (2008). Fostering Sustainability in Higher Education:
A Mixed-Methods Study of Transformative Leadership and Change Strategies. Doctoral dissertation, Philosophy in Leadership & Change program, Antioch University.
Office of the Higher Education Commission. (2012). Higher Education
Development Plan No. 11 (2012-2016). [Online]. Retrieved on March 4, 2013. From http://www.mua.go.th/~bpp/developplan/download/higher_edu_plan/
Samuwan, P. (2012). Participation of Students in Environmental
Management Related to Teaching Activities at Prince of Songkla University. Master of Sciences Thesis. Prince of Songkla University Hat Yai Campus.
Sanannaree, N. & Prasarnchoke, T. (2016). The Factors that Affect on
the Model of Managing in Master of Public Administration
Program Run By the State University in Thailand’s Central Northeastern Region, Governance Journal, 5 (1): 97 - 120
Siribanpitak, P. (2010). Education for Sustainable Development: the
Basic in Economy, Society and Environment. Bangkok. Thaisampun Print Publishing.
United Nations Environment Programme. (2013). Green Universities
Toolkit Transforming Universities into Green and Sustainable Campuses: A Toolkit for Implementers. Shanghai: Tongji University.