การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยชุมชนที่เหมาะสม กับบริบทและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ : กรณีศึกษาตำบลยอดชาด จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • Jarukanya Udanont
  • Kotchakorn Dechakamphu
  • Tipaporn Homdee
  • Runglawan Eamkusalkid

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม; คนพิการ; การพัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์บริบทที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนคนพิการในตำบลยอดชาด 2) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และ3)หาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยชุมชนที่เหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมตำบลยอดชาด โดยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อรวบรวมข้อมูลบริบทพื้นที่จากสมาชิกอบต. ผู้นำชุมชน คนพิการ และครอบครัวคนพิการ ตัวแทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล อสม. และตัวแทนชุมชน จำนวน 70 คน และแบบประเมินความสามารถตามประเภทความพิการโดยใช้รหัส ICF กับคนพิการ จำนวน 125 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทที่เกี่ยวข้องกับจำนวนคนพิการตำบลยอดชาดมาจากภาวะเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ และพบในช่วงอายุระหว่าง 61 – 70 ปีมากที่สุด เป็นความพิการทางการเคลื่อนไหว 2) ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)เพื่อร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนไปสู่การกำหนดเป็นแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลยอดชาด 3) องค์การบริหารส่วนตำยอดชาดมีแผนการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตคนพิการโดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแนวทางในการดูแลเยียวยาและส่งเสริมสุขภาพคนพิการ โดยร่วมมือกับ อสม.ในแต่ละหมู่บ้าน แบ่งการช่วยเหลือคนพิการตามศักยภาพการช่วยเหลือตัวเอง 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กชนิภา นราพินิจ และคณะ.(2551). ศึกษาการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับ
องค์กรภาครัฐระดับตำบลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรณีศึกษาตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา.กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
กิติพงศ์ สุทธิ. (2543). การดำเนินงานด้านการส่งเสริมอาชีพคนพิการตาม
พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทวี เชื้อสุวรรณทวี และคณะ. (2549). วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเรื่องการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในอำเภอพุทธมณฑลจังหวัดนครปฐม.กรุงเทพมหานครฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ. (2550). การพัฒนารูปแบบการให้บริการสวีสดิการสังคม
ผู้สูงอายุ ผู้พิการและคนด้อยโอกาสทางสังคม พื้นที่ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารปกครอง, 6 (1): 185 -206.
นริสา วงศ์พนารักษ์ และคณะ. (2556). การใช้แนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการโดยชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6(3) : กรกฎาคม – กันยายน 2556, 6 – 10.
ศิรินาถ ตงศิริ. (2556). แนวทางการนำฐานข้อมูลสมรรถนะของคนพิการไปใช้ใน
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในชุมชน.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 7(1): มกราคม – มีนาคม 2556, 99 – 113.
พรธิดา วิเศษศิลปานนท์ และคณะ. (2556). โครงการวิจัยการติดตามการเข้าถึง
สิทธิของคนพิการและการพัฒนารูปแบบระบบสวัสดิการที่ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สถานภาพของผู้พิการไทย.กรุงเทพฯ :
สำนักนายกรัฐมนตรี.
ILO, UNESCO, UNICEF, WHO. (2002). Community Based
Rehabilitation: CBR with and for people with disabilities. Draft Joint Position Paper. Geneva: WHO.

Translated Thai References

Cheausuwantavee, T. et, al. (2006). The Appropriate Strategies
on Community -Based Rehabilitation for Putthamonthon
District, Nakornpathom Province. Bangkok: The Thailand Research Fund.
Laosuwan, T. (2017). Developing a Model of the Social Welfare
Services for the Elders and Disabilities in Yang Noi Sub-District, Kosumpisai District, Maha Sarakham Province. Governance Journal, 6(1) : 185 – 206.
Narapinid, K. et, al. (2008). Education Participation Between
Communities, Governmental Levels in Improving the Quality of Life of Persons with Disabilities, Tambon Ta Chan Case Study, Kong District, Nakhon Ratchasima Province. Bangkok : The Thailand Research Fund.
National Statistical Office. (2014). Status of the Thais’Disabled.
Bangkok : The Prime Minister's Office.
Sutti, K. . (2000). Implementation of Occupational Promotion for
the Disabled Under the Rehabilitation of the Disabled Act, B.E. 2534. Bangkok :Thammasat University.
Tongsiri, S. (2013). Functioning Data Based on the International
Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) Classification System: Implications for Multidisciplinary Rehabilitation Plans for Persons with Disabilities. Journal of Health Systems Research 7(1):Jan.-Mar. 2013,pp.99-113.
Wisedsilrapanon, P. et, al. (2013). Research Project to Track Access
Rights of Persons with Disabilities, and Developed a Welfare System that Promotes the Rights of People with Disabilities Access.Bangkok : Mahidol University.
Wongpanarak, N. et, al. (2013). The Usage of the Concept of
Community-Based Rehabilitation in Improving the Quality of Life for People with Disabilities. KKU Journal for Public Health Research 6(3) : July – September 2013. pp.6-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-21