ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ; การบริหารส่วนท้องถิ่น; บ้านตาขุนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้แบบสอบถามกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 126 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ส่วนงานที่ปฏิบัติ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ 2) ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการแปลงวิสัยทัศน์ นโยบาย และยุทธศาสตร์ ขององค์กรมาสู่การปฏิบัติงานอย่างแท้จริง 3) ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการติดตามและประเมินผลโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด 4) ควรมีกลไกในการส่งเสริมการทำงานร่วมกันที่เป็นระบบ 5) ผู้บริหารมีภาวะความเป็นผู้นำสูง 6) บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถและมีความรับผิดชอบมีการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ให้กันภายในระหว่างบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 7) การมีความเพียงพอของงบประมาณ
Downloads
References
เหลื่อมล้ำ.กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.
ธานี สุวรรณไตรย์ และศรีรัฐ โกวงศ์. (2559). ความคาดหวังที่มีต่อกระบวนการ
ขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะแนวใหม่ในชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร, วารสารการบริหารปกครอง 5 (2): 213 – 228.
นิตย์รดี ใจอาษา. (2554). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อกระบวนการบริหาร
จัดการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. ภาคนิพนธ์ปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พนินท์ เครือไทย และชิชญาส์ ช่างเรียน. (2554). การประเมินประสิทธิภาพการ
ให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
นพพล อัคฮาด (2559). กรอบมโนทัศน์เบื้องต้นเกี่ยวกับ “ประชาธิปไตยชุมชน”
ในฐานะกลไกของการจัดบริการสาธารณะแนวใหม่สำหรับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารปกครอง, 5 (1): 44 – 79.
รุ่งนภา ตาอินทร์. (2551). ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหารขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลบริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิมล ชาตะมีนา, วชิรา วราศรัย และรุ่งทิพย์ จินดาพล. (2551). ปัจจัยแห่ง
ความสำเร็จในการบริหารจัดการและดำเนินโครงการของอบจ. แพร่ และของ อบจ. พิษณุโลก. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศูนย์พัฒนาการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. (2548). รายงานการติดตามผลการ
กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Best, J. W. (1990). Research in Education. Englewood Cliff, New
Jersey: Prentice-Hall.
Carrington R, N Puthucheary, D Rose.; & S Yaisawarng (1997).
“Performance Measurement in Government Service Provision: the Case of Police Services in New South Wales.” JPA, 8(4): 415-430.
Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rded.,
New York: Harper and Row.
Krejcie, R. V.; & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for
Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.
Translated Thai References
Akahat, N. (2016). Basic of Conceptual Framework on “Community
Democracy” as a New Public Service Mechanism for Thailand in the 21st Century. Governance Journal, 5 (1): 44 – 79.
Chatameena, W., Warasai, W. and Jindapol, R. (2008). Factors of
Accomplishment in Project Management and Operation of Phrae Provincial Administration Organization and Phitsanulok Provincial Administration Organization. Bangkok : Thailand Research Fund.
Decentralization Center to Local. (2005). Report Monitoring on
Decentralization to Local Administrative Organization.
Songkhla: Prince of Songkla University.
Jai-asa, N. (2011). Personal Opinions towards Management Process
in Chanthaburi Provincial Administration Organization. Thesis Master of Public Administration (Public and Private Management). Chonburi: Graduate School of Public Administration, Burapha University.
Khanthahat,S. (2004). Organization and Management. Bangkok:
Aksarapipat.
Kruethai, P. and Changruen, C. (2011). Evaluations of Public Service
Efficiency of Local Administrative Organization, A
Case Study of Uttaradit and Phitsanulok. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation.
Patamasiriwat, D. (2007). Local Fiscal: Income Expansion and
Disparity Reduction. Bangkok: P.A.Living.
Ta-in, R. (2008). Factors Affecting Accomplishment of Management
of Local Administrative Organization Awarded
Good Management: A Case Study of Donkaew Local Administrative Organization, Mae Rim, Chiang Mai. Thesis Master of Public Administration. Chiang Mai: Chiang Mai University.