รูปแบบประสิทธิผลการจัดการความรู้ของมูลนิธิ โครงการหลวงในการพัฒนาพื้นที่เขตภาคเหนือ ของประเทศไทย
รูปแบบประสิทธิผลการจัดการความรู้ของมูลนิธิ โครงการหลวงในการพัฒนาพื้นที่เขตภาคเหนือ ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
มูลนิธิโครงการหลวง, การจัดการความรู้, ประสิทธิผลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษารูปแบบประสิทธิผลการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวงในการพัฒนาพื้นที่เขตภาคเหนือของประเทศไทย ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงผสมผสาน โดยใช้เทคนิควิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการเลือกแบบเจาะจงที่เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ตรงในโครงการหลวงในตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ระดับต้น เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมูลนิธิโครงการหลวง ผู้นำชุมชนที่ได้รับการยอมรับและเกษตรกรสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวง รวมเป็นจำนวน 22 ท่าน เพื่อนำมาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงการพัฒนาแนวคิด และใช้เทคนิควิธีวิจัยเชิงปริมาณ จากการเก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถามกับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 312 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ผล ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวงในการพัฒนาพื้นที่เขตภาคเหนือของประเทศไทยบรรลุประสบผลสำเร็จ ผ่านรูปแบบของการจัดการความรู้ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งประกอบด้วยมิติกระบวนการการจัดการความรู้ มิติภาวะผู้นำองค์กร มิติวัฒนธรรมองค์การ มิติการทำงานเป็นทีม และ มิติการพัฒนาชุมชนไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง อันนำไปสู่การการนำความรู้ทางวิชาการจากมูลนิธิฯ ไปสู่การพัฒนาพื้นที่ได้อย่างสอดคล้องกับบริบทเชิงวัฒนธรรม สังคม และลักษณะทางเศรษฐกิจ
คำสำคัญ: มูลนิธิโครงการหลวง; การจัดการความรู้; ประสิทธิผล
Downloads
References
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ :
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
วิสาขา ภู่จินดา .(2555). ตัวแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมโดยใช้หลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ทุนวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Hasting, Bixby and Lawton.1986. Evaluation to Improve Learning. New York:
McGraw-Hull.
Marquardt,M.J.2002. Building the learning organization: A system approach
to Quantum Improvement and global success. New York: McGraw-Hill.
Rathachatranon, W. and Noppon, A. (2017). Community Cultures &
Citizenships Enhancement Process for Delivering Public Service at Local Community Level, Governance Journal 6 (2)
Translated Thai References
Chankij, P. (2011). Knowledge Management System Administration.
Chieng Mai: Chieng Mai University
Panich W. (2012). Path to Create Learning to Learners in 21st
Century. Bangkok: Foundation of Sodsi-Saritwong
Phujinda, W. (2012). An Industrial Environment Management Model
Through Sufficiency Economy Philosophy. Bangkok: National Institute of Development Administration.