แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขง บ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงมอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขง บ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงมอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
แนวทางการบริหารจัดการ; วิสาหกิจชุมชน; การพัฒนาที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการและปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขงบ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มความสำเร็จในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขง บ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มหน่วยงานราชการที่ให้การสนับสนุน 3 คน กลุ่มผู้บริหารและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4 คน กลุ่มผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน 4 คน และกลุ่มบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกกลุ่ม 4 คน ใช้เครื่องมือในการศึกษา เป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง และกรอบการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขงบ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย มีการบริหารจัดการตามหลักการบริหาร 5 ก ได้แก่ กลุ่ม กรรมการ กฎระเบียบกติกา กองทุน และกิจกรรม มีปัจจัยในการบริหาร หรือ 4 Ms ครบถ้วน ได้แก่ กำลังคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการที่ดี มีการจัดสรรผลประโยชน์อย่างทั่วถึง ผู้นำกลุ่มมีภาวะผู้นำ โครงสร้างทางสังคม ค่านิยมทางสังคม ช่วยหนุนเสริมให้กลุ่มประสบผลสำเร็จ 2) ปัญหาที่พบในการบริหารจัดการของกรณีศึกษานี้ พบว่า ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ดี โดยขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาและขยายผลิตภัณฑ์กลุ่ม และอุปสรรค ที่พบ ได้แก่ ผูกขาดการค้าของบริษัทเอกชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ผลกระทบจากกิจการท่าเรือดูดทราย และปัญหาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ 3) แนวโน้มความสำเร็จในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน โดยใช้ตัวแบบแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ (Porter’s 5 force model) ในการวิเคราะห์พบว่า (1) แรงกดดันของการเข้ามายังอุตสาหกรรมของคู่แข่งขันรายใหม่ อยู่ในระดับต่ำ (2) แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายเดิมอยู่ในระดับต่ำ (3) แรงกดดันของสินค้าทดแทน อยู่ในระดับต่ำ (4) แรงกดดันจากอำนาจการต่อรองของผู้ซื้ออยู่ในระดับสูง (5) แรงกดดันจากอำนาจการต่อรองของผู้จัดหาวัตถุดิบ อยู่ในระดับสูง
คำสำคัญ: แนวทางการบริหารจัดการ; วิสาหกิจชุมชน; การพัฒนาที่ยั่งยืน
Downloads
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ. กรุงเทพฯ:
สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
กฤษติญา มูลศรี. (2552). การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการ
ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์.กรุงเทพฯ: สำนักงาน
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
กษมาพร พวงประยงค์. (2554). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูป
และผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
ชยาพร วัฒนศิริ, ภวัต เจียมจิณณวัตร, หฤษฎี ภัทรดิลก, ชัยวัฒน์ คงสม. (2553).
รายงานการวิจัย การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบวิถีชุมชน. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฐวดี พัฒนโพธิ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นกก บ้าน
โนนนาค ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการ
บริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 6(ฉบับพิเศษ), 120-132.
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร (2558). การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศกลุ่มนอร์ดิก. วารสาร
รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(2), 17-37.
มินระดา โคตรศรีวงค์. (2559). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษา
กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัด
ร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการ Veridian E- Journal, Silpakorn
University, 9(3), 1632-1645.
สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย. (2560). รายงานภาพรวมความก้าวหน้าการ
ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดหนองคาย ปี 2560. เอกสารการประชุม
คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดหนองคาย. (หน้า 3).
หนองคาย: สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-
2564. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2560,จาก
http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สุกัญญา อธิปอนันต์ และคณะ. (2550). กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง ปี 2550. (รายงานการวิจัย) กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.
อริญชยา อดุลย์เดช. (2555). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านช่องโครุ่งเรือง ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. ในการประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9: มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่งเสริมการเกษตรวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา. (2087-2094).นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
Kotas, M. (2015). Key success factors for social services organizations in Poland.
Management, 19 (2), 122-135.
Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy. New York: The Free Press.
Valchovska, S. & Watts, G. (2013). Community-based rural enterprise in the UK- model development and success factors. Retrieved February 26, 2018, from http://enterise.info/
lessons/community-enterprise-development.pdf
Wronka, M. (2013). Analyzing the success of social enterprises-critical success
factors Perspective. Retrieved March 7, 2018, from
http://www.toknowpress.net/ISBN/978-961-6914-02-4/papers/ML13-
296.pdf
Translated Thai References
Community Development Department Ministry of Interior. (2017).
Guidelines for Establishing and Developing Occupational
Group. Bangkok: Style Creative House Co.,Ltd.
Department of Agriculture Extension. (2005). Community Enterprise.
Bangkok: n.p.
Moonsri, K. (2009). The Study of problems and solving tendencies of
community enterprise operation in Phetchabun province.
Bangkok: National Research Council of Thailand.
Poungprayong, K. (2011). The Development Approach of Small and
Micro Community Enterprise Processing and Product Group
Samutsongkram Province (Master’s thesis). Silpakorn
University, Nakhon Pathom, Thailand.
Wattanasiri, C., Chiamjinnawat, B., Pattaradilok. H., Kongsom, S. (2010).
Development of Organic Agriculture by Community.
Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.
Phatthanapho, N. (2017). The Potential Development of Reed Product
Making Group at Non Nak Village, Bua Ban,Yang Talat, Kalasin.
Governance Journal Kalasin University, 6(Special issue),
120-132.
Kalyanamitra, P. (2015). The Sustainable Development of Nordic
Countries Group. Journal of Political Science and Law,
Kalasin University, 4(2), 17-37.
Khotsriwong, M., Mongkolsrisawat, S. (2016). Development of
Community Enterprises to Success A Case Study ofSilk Weaving
Groupin Wailum Village, MabaSubdistrict, Tungkawluang
District,Roiet Province. Veridian E- Journal, Silpakorn
University, 9(3), 1632-1645.
Nong Khai Provincial Agriculture Extension Office. (2017). Annual
Report of the Progress in Community Enterprises in Nong
Khai Province 2017. Document for the meeting of the
committee for the Progress in Community Enterprises in
Nong Khai Province. Nong Khai: Nong Khai Provincial
Agriculture Extension Office.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2017).
The Twelfth National Economic and Social Development
Plan (2017 - 2021). Retrieve from
http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
Athipanan, S., at el. (2007). Community enterprise development
strategies for self-reliance in 2007. Bangkok: Department of
Agriculture Extension.
Aduldej, A. (2012). Success of Banchongcorungrueang mushroom
cultivate comminity enterprise group in Rungkayai subdistrict,
Phimai district, Nakhon Ratchasima province. Proceedings of
the 9th Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus
Conference: Humanities and Social Sciences, Agricultural
Extension and Health and Sports Science. (2087-2094).
Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaengsaen Campus.