การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะ ของท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลพังทุย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะ ของท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลพังทุย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม; กิจการสาธารณะ; องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาพปัญหา/อุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะของท้องถิ่นในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพังทุย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพมาประยุกต์ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ครอบคลุมทั้งด้านเนื้อหาและตัวเลขสถิติ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในเชิงลึกของปรากฏการณ์ที่ศึกษาได้มากยิ่งขึ้น โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลพังทุยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งหมด 356 คน ทำการวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาสรุปและเสนอแนะ โดยใช้วิธีการเชิงพรรณนาและแสดงตัวเลขสถิติประกอบคำอธิบาย
ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจการสาธารณะของท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การค้นหาปัญหา วิเคราะห์สาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อกำหนดขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและศักยภาพของท้องถิ่น ในด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า ประชาชนมีความเข้าใจในขอบเขตและบทบาทหน้าที่ของตนในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในระดับต่ำ ส่งผลให้การดำเนินงานกิจกรรมหรือโครงการบางอย่างมีความล่าช้า และไม่ต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางการส่งเสริมและยกรับดับการมีส่วนร่วมให้มากขึ้นนั้น ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร และสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางการสื่อสารที่มีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมเป็นหลักประกันที่สำคัญที่จะทำให้ประชาชนทุกคนดำเนินชีวิตอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม; กิจการสาธารณะ; องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Downloads
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2552). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การ
บริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ประสานมิตร.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2549). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542.
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
ประสานมิตร.
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2541). หลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2 สาขาวิชาพัฒนา
สังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไททัศน์ มาลา. (2553). การปกครองท้องถิ่นไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน. วารสารวไลย
อลงกรณ์ปริทัศน์.
พระมหาประกาศิต สิริเมโธ (ฐิติปสิทธิกร). (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนบ้านคลองใหม่
อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
แผนพัฒนาแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี พ.ศ.2561-2564. เอกสารแผนพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี พ.ศ.2561 - 2564 ขององค์การบริหารส่วน
ตำบลพังทุย.
สุธี ศรสวรรค์. (2538). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
ของมุสลิม : ศึกษา เฉพาะกรณีตำบลคลองตะเคียน อำเภอ
พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา .
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหาร
ศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550).รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 .กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานราชเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร.
อุดม ทุมโฆสิต และคณะ. (2546). รายงานการวิจัย เรื่อง ขอบเขตอำนาจหน้าที่
และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับราชการบริหาร
ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค และระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่นด้วยกัน
เอง ตลอดจนรูปแบบที่เหมาะสมขององค์กรปกครองท้องถิ่น ในประเทศ
ไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). ค้น
เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2560, จาก
mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/mcp/temp_informed/11716.pdf
Translated Thai References
Department of Local Administration.(2009). District Council and
Subdistrict Administrative Organization Act, BE 2537
(1994) Amendments (No. 6) BE 2552 (2009). Bangkok : Printing house Prasarnmit.
Department of Local Administration.(2006). The Act establishes plans
and procedures for the decentralization of local
administrative organizations, 2542 (1999). Amending
(No. 2), BE 2549 (2006). Bangkok : Printing house Prasarnmit.
Tanongsak Khumkhainam. (1998). Community Development
Principles. (2nd Ed.) Social Development Department,
Faculty of Humanities and Social Sciences,
Khonkaen University.
Taitat Mala. (2010).Local governance in the transitional period.
Valaya Alongkorn Review.
Phramaha Prakasit Sirimedho (Thitipasitthikron). (2013). Participation of
People in Community Development of Sufficiency
Economy Village of Ban Klong Mai
Community, Sampran District, Nakhonpathom Province.
Thesis of Master of Arts in Social Development, Graduate
School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Development Plan: Local Development Plan 4 years, 2018-2021.
Development Plan Document : Local Development Plan 4
years, 2018-2021 of Pang Tui Subdistrict Administration
Organization.
Suthee Sornsawan. (1995). Factors Affecting People Participation of
Muslim: A Case Study of Klongtakaen Subdistrict, Phra
Nakhon Si Ayutthaya District, Phra Nakhon Si Ayutthaya
Province. Thesis of Master of Public Administration in
Social Development, National Institute of Development
Administration.
Office of the Secretary of the House of Representatives. (2007). The
Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2007.
Bangkok: Office of Printing, Office of the Secretary of the House
of Representatives.
Udom Tumkosit and others. (2003). Research Report on Scope of
Authority and Relations between Local Administrative
Organization and Central Administration And regional And between organizations. Local administration with
each other. The appropriate form of local government in
Thailand.Bangkok: Faculty of Public Administration. Institute of
Development Administration.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.).
Retrived on November 23, 2017, from
mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/mcp/temp_informed/11716.pdf.