การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารจัดการแบบเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานวัฒนธรรมผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • นพพล อัคฮาด
  • อัยรวี วีระพันธ์พงศ์
  • ฐาปนีย์ เวสารัชเวศย์
  • พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม
  • อาริยา ป้องศิริ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวโดยชุมชนผู้ไท, การบริหารจัดการแบบเครือข่าย, การพัฒนาตัวบ่งชี้

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารการจัดการแบบเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานวัฒนธรรมผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟายด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 18 คน จำนวน 3 รอบ วิเคราะห์ผลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการหาความสอดคล้องระหว่างความคิดเห็นของ Kendall เพื่อหาความสอดคล้องระหว่างผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน ผลการศึกษาพบว่า ผลการพัฒนาเกณฑ์ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบการบริหารการจัดการแบบเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานวัฒนธรรมผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการบริหารจัดการแบบเครือข่ายร่วมกันภายในชุมชนที่จัดการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ และ 37 ตัวบ่งชี้  2. ด้านการบริหารจัดการแบบเครือข่ายร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชนอื่น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้ 3. ด้านการบริหารจัดการแบบเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในส่วนกลางและภูมิภาค ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้  และ 4. ด้านการบริหารจัดการเครือข่ายร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 20 ตัวบ่งชี้

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว และสุพัฒนชัย โพธิ์แก้ว. (2560). การมีส่วนร่วมในการจัดการ
ท่องเที่ยวชุมชนบ้านบางโรง ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. รายงานการวิจัยเสนอต่อคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
ปิยะพงษ์ บุษบงก์ และคณะ (2560). การสร้างความร่วมมือในการบริหารจัดการ
ท้องถิ่น : สำรวจแนวปฏิบัติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ออนไลน์) สืบค้นจาก www.pcrp-org.com (6 กันยายน 2560).
ศิริ นาคะศิริ (2556) ศิริ นาคะศิริ (2556). แนวคิดการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกับ
ตลาดสามชุก : ความสำเร็จและปัญหา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 6 (2): 7 - 16.
สุเทพ ไชยขันธุ์ (2556). ความเป็นมาคนอีสาน ภาคพิเศษผู้ไทยลูกแถน : สาน
สัมพันธ์เชื่อมพรมแดนอาเซียนเป็นหนึ่งเดียว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ร่าง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี. (2560). แผนพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวใน
ท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2560 – 2564. กาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
อำพล บุญพานิช. (2560). บทบาทชุมชนกับการพัฒนาทุนทางสังคมในการ
เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษาหมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยบ้านโคกโก่ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานการวิจัยเสนอต่อมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ประจำปีงบประมาณ 2560, สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
Bevir, M. (2010). Governance: A Very Short Introduction. New York :
Oxford
Creswell, J. H. (2014). Research Design: Qualitative, Quantitative, &
Mixed Methods Approaches. (4th ed.). Thousand Oaks, California: Sage Publications.
Edmons, W.A., & Kennedy, T.D. (2017). An Applied Guide to Research
Designs: Quantitative, Qualitative, and Mixed Methods. Thousand Oaks: Sage.
Gracht, H. A. (2012). Consensus measurement in delphi studies review and
implications for future quality assurance. Technological Forecasting & Social Change, 79(1): 1525 – 1536.
Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Technique. In Paper presented at the
annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development, May 3-5. CA: Monterey.
Rathachatranon, W. & Akahat, N. (2017). Community Cultures & Citizenships
Enhancement Process for Delivering Public Service at Local Community Level. Governance Journal 6: 61 - 76




Translated Thai References

Boosabong, P. at al. (2017). Collaborative Local Governance Studies:
Exploring Practices in North-East Thailand. (Online). Retrieved from www.pcrp-org.com (6 September 2560).
Boonphanich, A. (2017). Community Role and Social Capital
Development in Enhancing to Community: A Case Study of Phu-Tai Cultural Village “Kok Khong”, Kuchinarai District, Kalasin Province. Kalasin : Kalasin University.
Chaiyakhan, S. (2013). E-saan People Background, Phu-Thai Special
Series: Bounder Link of One ASEAN Countries. Bangkok: Sukhaphab Chai
Kanchana Buri Provincial Administrative Organization. (2017). Tourism
Development Plan in Local of Kanchana Buri Province B.C.
2560 – 2564 Kanchana Buri: Kanchana Buri Provincial Administrative Organization.
Nakasiri, S. (2013). Sustainable Tourism Concept ‘s for Samchuk Market:
Success and Challenges. FEU Academic Review 6 (2): 7 - 16.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016).
Draft of National Economic and Social Development Plan B.C. 2560 – 2564. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-31