กระบวนการบริหารบริการสาธารณะด้านการศึกษาตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
การบริการสาธารณะ, การศึกษา, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารบริการสาธารณะด้านการศึกษาตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 51 คน ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อสังเคราะห์หาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบริหารบริการสาธารณะด้านการศึกษาตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีจุดเริ่มต้นจากการกำหนดนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด และโรงเรียนนำไปปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียนมีอิสระในการตัดสินใจ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการศึกษาผ่านการเป็นตัวแทนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในรูปแบบการประชุมเพื่อรับรู้ข่าวสาร และการปรึกษาหารือมากกว่าการมีส่วนร่วมตัดสินใจ หรือร่วมประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน
Downloads
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2554). กฎหมายระเบียบ และหนังสือสั่งการที่
เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
เทศบาลนครสกลนคร. (2560). รายงานผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการ
บริหารจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 . สกลนคร: เทศบาลนครสกลนคร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). แนวคิดและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ พื้นฐานการ
ปฏิรูปการศึกษาเพื่อประชาชน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). รายงานการวิจัย การศึกษาแนวทางการบริหารและการ
จัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : สํานักงานปฏิรูปการศึกษา.
Caldwell, B. J. (1998). “The changing role of the school principal : A review
of developments in Australia and New Zealand”, School-based management and school effectiveness. London : Routledge, p.183
Cheng, Y. C. (1996). School Effectiveness and School-Based
Management: A Machanism for Development. Washington,D.C, : The Falmer Press. 14 September 2018. Available from http://www.Ed.gov/pubs/OR/consumer Guides/basement/html.
Goode, E. (1994). “Site-Based Management in Public Education: A
Challenge for CriticalPragmatism,” Dissertation Abstracts International.55, 04A: 816-A.
Lithwood, K., and Terasa. Forms and Effects of School-Based
Management: A Review Educational Policy. (CD-ROM)
Maquire, T. F. (1994) . “School-Based Management: Conditions for
Implementation,” Dissertation Abstracts International. 55 03A : 434-A.
McCollor, F. M. (1998). “Case Studies of School Based Management in
Three Urban Middle Schools,” Dissertation Abstracts International. 59, 01A : 40.
Translated Thai References
Department of Local Administration. (2011). Law, regulation and an order
book about education management of schools under the local government organization. Bangkok: Ministry of Interior.
Sakhon Nakhon Municipality. (2017) .International supervision report
Follow up and evaluate the educational administration. By using the school as a base for local development of educational institutions under the local administrative organization Northeast region Annual Budget 2560 B.E., Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Municipality.
Ministry of Education. (1999). Concepts and policies of the Ministry of
Education. Fundamentals of Educational Reform for the People. Bangkok: Khurusapha Lat Phrao Press.
Boonprasert, U. (2000). Research report A study of educational
administration and educational management guidelines of educational institutions in the form of school - based administration. Bangkok: Office of Educational Reform.