นาฏดุริยางคศิลป์สร้างชาติ: การยินยอมและการต่อรองนิยามความเป็นไทยของข้าราชการสำนักการสังคีต กระทรวงวัฒนธรรม
คำสำคัญ:
สำนักการสังคีต, ความเป็นไทย, ชีวอำนาจบทคัดย่อ
บทความวิจัยชิ้นนี้ใช้แนวคิดอำนาจนำของอันโตนิโอ กรัมชี่ และแนวคิดวาทกรรมและชีวอำนาจของมิเชล ฟูโกต์ ในการศึกษากระบวนการยินยอมและต่อรองกับอำนาจรัฐในการนิยาม “ความเป็นไทย” ผ่านงาน และตัวตนของข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม บทความนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานไปจนถึงระดับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 ราย และใช้วิธีการวิเคราะห์สาระสำคัญ (thematic analysis) ในการสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานที่ขับเคลื่อนโดยข้าราชการศิลปินแห่งนี้เป็นหนึ่งในกลไกอำนาจรัฐไทยที่มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ความเป็นไทยผ่านการแสดงนาฏดุริยางคศิลป์ เช่น การแสดงนาฏศิลป์ไทยและโขนในงานราชพิธี รัฐพิธี เป็นต้น ข้าราชการสำนักการสังคีตยอมรับและใช้วาทกรรม “ไทยจารีต” ในการนิยามความเป็นไทยและตัวตนขององค์กร กระบวนการปลูกฝังนิยามดังกล่าวสู่ตัวข้าราชการเกิดขึ้นผ่านกลไกทั้งด้านวิชาชีพที่ฝึกฝนมา และด้านวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการเคารพเชื่อฟังครูและการฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อมุ่งควบคุมร่างกายและความคิดให้เชื่อว่าตนคือผู้รู้ กระทำ และอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไทย อย่างไรก็ดี เงื่อนไขของการทำงานในยุคปัจจุบัน เช่น ข้อจำกัดด้านเวลาในการแสดง ทำให้ข้าราชการสำนักการสังคีตต้องมีการต่อรองกับวาทกรรม “ไทยจารีต” ในพื้นที่ของการแสดง เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบของฉาก เครื่องแต่งกาย บทการแสดง ให้สอดรับกับสถานการณ์ ซึ่งการปรับเปลี่ยนดังกล่าวได้เผยให้เห็นขอบเขตและความลื่นไหลของ “ไทยจารีต” ที่ไม่ตายตัว
Downloads
References
กรมศิลปากร. (2534). 80 ปี แห่งการอนุรักษ์มรดกไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ทองกร โภคธรรม. (2558). ร่างกายใต้บงการ : The Chapter "Les Corps Dociles"
from Surveiller Et Punir. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ธงชัย วินิจจะกูล. (2534). วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบวงศาวิทยา
(Genealogy). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2542). พลังของแนวคิดชาติ-ชาตินิยมกับการเมืองไทยในสมัย
แรกเริ่มของรัฐประชาชาติ. รัฐศาสตร์สาร, 21(3), 1-104.
ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. (2547). การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมความบันเทิงในสังคม
กรุงเทพฯ พ.ศ. 2491 – 2500. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรพล พุทธรักษา. (2557). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่. กรุงเทพฯ: สมมุติ.
สายพิณ ศุพุทธมงคล, ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล, พรรณราย โอสถาภิรัตน์, และ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. "สำรวจทฤษฎีร่างกาย." ในปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (บรรณาธิการ). (2541). เผยร่าง-พรางกาย : ทดลอง มองร่างกายในศาสนา ปรัชญา การเมือง ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และมานุษยวิทยา. (น. 14-50). กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
สุรพงษ์ ชัยนาม. (2524). อันโตนิโอ กรัมชี กับทฤษฎีการครองความเป็นใหญ่. ปาจารยสาร, 8 (6), 70 - 79.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2559). ร่างกรอบ
ทิศทางยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านวัฒนธรรมตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
สำนักการสังคีต. (2563). ประวัติและบทบาทหน้าที่. (ออนไลน์), เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2563 จาก https://www.finearts.go.th/performing/categorie/history
Foucault, Michel. (1980). Power/Knowledge: Selected Interviews and Other
Writing 1972-1977. Gordon, Colin (Ed.). New York: Pantheon.
Foucault, Michel. (1986).The Subject and Power. Great Britain: The Harvester Press.
Translated Thai References
Fine Arts Department. (1991). 80 years of preserving Thai heritage. Bangkok:
Fine Arts Department.
Ministry of Education. (1946) Ministrial Announcement No. 2/25
Improvement of Plays and Musics in the Office of Performing Art, Fine Arts Department. Retrieved from National Archive of Thailand.
Nakarin Mektrairat. (1999). Power of Nationalism and Thai Politics in the
beginning of Nation-state. Political Science Journal 21(3), 1-104.
Office of Permanent Secretary, Ministry of Culture. (2016). 20-Year
national cultural strategy: a framework draft for the 20-Year National Strategy. Bangkok: Ministry of Culture.
Office of Performing Art. (n.d.). History and responsibility (Online).
Retrieved from https://www.finearts.go.th/performing/categorie/history.
Patarawdee Puchadapirom. (2004). The transformation of
entertainment culture in Bangkok society from 1948 to 1957. Doctoral Thesis at Department of History, Faculty of Arts, Chulalongkorn University.
Saipin Suputtamongkol, Paritta Chaloemphao Ko-anantakool, Pannarai
Osatapirat, & Suddaen Wisuttilak. (1998). Exploring theories of bodies. In Paritta Chaloemphao Ko-anantakool (Ed.), Body hidden and revealed: Bodies in religion, philosophy, politics, history, art and anthropology (pp. 14-50). Bangkok: Kobfai.
Surapong Chaiyanam. (1981). Antonio Gramsci and hegemony theory.
Pacharayasan. 8(6), 70-79.
Surapol Wiroonrak. (2004). Review of Principles of Thai performing art.
Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Thongchai Winichakul. (1991). Geneology method in historical study. Bangkok:
Thammasat University.
Tongkorn Pokatham. (2015). Body under surveilance: The chapter “
Les Corps Dociles” from Surveiller Et Punir. Bangkok: Foundation for Democracy and Development Studies (FDDS).
Watcharabol Bhuddharaksa. (2012). A survey of political thought of Antonio Gramsci. Bangkok: Sommut Publishing.