ตัวแบบเครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว กรณีศึกษาตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ฮัสสัน ดูมาลี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • รอยฮาน สะอารี คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • ปารีซะ รักเกื้อ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ตัวแบบเครือข่าย, เครือข่ายจัดการการท่องเที่ยว, ชุมชนท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาตัวแบบเครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวในตำบลแหลมโพธิ์อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ซึ่งใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เครื่องมือการเก็บข้อมูลได้แก่ การสนทนากลุ่ม โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหาร สมาชิกและข้าราชการท้องถิ่นประจำองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์ ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนา ภาคประชาสังคม ผู้ประกอบการ ตัวแทนหน่วยงานราชการในระดับต่างๆ โดยดำเนินการสนทนากลุ่ม 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ประเด็น ภาคีเครือข่ายกลไกการทำงาน และบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 2 พิจารณาผลการศึกษาที่ผ่านมาและสังเคราะห์ผล วิธีการดำเนินการวิจัยต่อมาคือ การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่ถูกเสนอให้เป็นภาคีเครือข่ายในประเด็นตัวแทนภาคีเครือข่ายและบทบาทหน้าที่ และสุดท้ายการนำเสนอข้อมูลที่สังเคราะห์ผลให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง ชุมชนและผู้ประกอบการ ผลการศึกษาตัวแบบตัวแบบเครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวตำบลแหลมโพธิ์ เป็นเครือข่ายที่การปกครองสาธารณะแบบใหม่ซึ่งประกอบด้วย ภาคส่วนรัฐและชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการ เป็นภาคีเครือข่ายประสานการทำงานเป็นคณะกรรมการมาที่จากตัวแทน 8 ภาคส่วน จำนวน 22 คน ขับเคลื่อนการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวตำบลแหลมโพธิ์โดยมีแผนพัฒนาท่องเที่ยวตำบลเป็นตัวกำหนดทิศทาง มีกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเครือข่ายคือองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์เป็นแกนกลางและประสานงาน ในขณะที่อำเภอมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่าย โดยภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวตำบลตามบทบาทหน้าที่ ลักษณะโครงสร้างเครือข่ายมีสถานภาพเท่าเทียมกันและไม่มีการลำดับบังคับบัญชา

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). หาดตะโละสะมีแล. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน
2562. จากhttps://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/compare/itemid/902
กาญจนา แก้วเทพ. (2560). เครื่องมือทำงานวัฒนธรรมชุมชนและสื่อพิธีกรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
เทิดชาย ชวยบํารุง. (2552). บทบาทขององคกรปกครองสวนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
ไททัศน์ มาลา. (2561). การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (New Public
Governance: NPG): แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการการจัดการปกครองท้องถิ่น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 8(1), 186 – 187.
องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์. (2559). ข้อมูลพื้นฐานของตำบลแหลมโพธิ์.
ปัตตานี: องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์.
องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์. (2559). ข้อมูลผู้ประกอบการตำบลแหลมโพธิ์.
ปัตตานี: องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์.

บุคลานุกรม
กอเซ็ง สามะ. 6 ตุลาคม 2562. โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดชุมชนตะโล๊ะสะมีแล. สัมภาษณ์.
จินะห์. 18 พฤษภาคม 2561. แม่ค้าขายโรตี. สัมภาษณ์.
ซาการียา เจ๊ะเซะ. 30 กันยายน 2562. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาตาบูดี. สัมภาษณ์.
ดอเลาะห์ เจ๊ะแต. 14 ตุลาคม 2562. ประชาสังคมในพื้นที่. สัมภาษณ์.
ภูริพัฒน์ จรัสสาธรวัฒน์. 6 ตุลาคม 2560. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์. สัมภาษณ์.
ภูริพัฒน์ จรัสสาธรวัฒน์. 30 กันยายน 2562. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์. สัมภาษณ์.
มะรอนิง ตานอ. 14 ตุลาคม 2562. ประชาสังคมในพื้นที่. สัมภาษณ์.
มะรอนิง สาและ. 6 ตุลาคม 2560. ประชาสังคมในพื้นที่. สัมภาษณ์.
มะลี บือเฮง. 18 พฤษภาคม 2561. โต๊ะบีลาลประจำมัสยิดชุมชนบ้านดาโต๊ะ. สัมภาษณ์.
มาหะมะ กาเซ็ง. 29 กันยายน 2562. เจ้าของกิจการบ้านไม้ ริมทะเล วิลล่า รีสอร์ท. สัมภาษณ์.
สีตีอามะ เจ๊ะอุเซ็ง. 18 พฤษภาคม 2561. คณะกรรมการประจำมัสยิดชุมชนตะโล๊ะสะมีแล. สัมภาษณ์.
อันวาร์ เจ๊ะโซะ. 30 กันยายน 2562. กำนันตำบลแหลมโพธิ์. สัมภาษณ์.
โอฬาร บิลสัน. 2 ตุลาคม 2562. นายอำเภอยะหริ่ง. สัมภาษณ์.

Translated Thai References
Ministry of Tourism and Sports. (2019). The Talohsamilea Beach.
Retrieved November 20, 2019, from
https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/compare/itemid/902
Kaewthep, K. (2017). Tool of work on community culture and
educational ritual media. Bangkok: Princess Maha Chakri
Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organization).
Choibamroong, Therdchai. (2009). Role of local government organization
with sustainable tourism development based on the concept of
sufficiency economy. Bangkok: Cabinet and the Government Gazette.
Mala, T. (2018). (New Public Governance: NPG: Concepts and applications in local administration. Valaya Alongkorn Paritat Journal (Social Sciences and Humanities) 8 (1), 186 – 187. (in Thai).
Laem Pho Subdistrict Administrative Organization. (2016). Basic Information of Laem Pho Subdistrict. Pattani: Laem Pho
Subdistrict Administrative Organization.
Laem Pho Subdistrict Administrative Organization. (2016). Entrepreneur
Information of Laem Pho Subdistrict. Pattani: Laem Pho Subdistrict Administrative Organization.


Personnel
Sama, Goseng. October 6, 2019. Imam of Taluk Samilan Mosque.
Interview.
Jinah. May 18, 2018. Roti seller. Interview.
Jehse, Sagariya. September 30, 2019. Pa Ta Budi Health Promotion
Hospital Director. Interview.
Jehtae, Doloh. October 14, 2019. Civil society in the area. Interview.
Jarasathornwat, Puripat. October 6, 2017. Permanent Secretary of the
Subdistrict Administrative Organization of Laem Pho. Interview.
Jarasathornwat, Puripat. September 30, 2019. Permanent Secretary of the
Subdistrict Administrative Organization of Laem Pho. Interview.
Tano, Maroning. October 14, 2019. Civil society in the area. Interview.
Tano, Maroning. October 6, 2019. Civil society in the area. Interview.
Buheng, Malee. May 18, 2018. Bilal of Ban Tatuk Mosque. Interview.
Gasen, Mahama. September 29, 2019. The Owner of BanMai RimTalae
Villa Resort. Interview.
Jea-Useng, Sitiarma. May 18, 2018. Taluk Samilan Mosque Committee.
Interview.
Che-so, Anwar. September 30, 2019. Laem Pho Subdistrict Village
headman. Interview.
Billson, Olan. October 2, 2019. Yaring Prefect. Interview.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26