Evolution of the use of space for political rallies in Bangkok

ผู้แต่ง

  • วรวัณณี ลาภอำนวยเจริญ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
  • พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

คำสำคัญ:

พื้นที่สาธารณะ; การชุมนุมทางการเมือง; คุณลักษณะทางกายภาพ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการของการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองและสำรวจคุณลักษณะทางกายภาพที่มีผลต่อการเลือกใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมือง โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกพื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองจากพื้นที่สาธารณะเคยเกิดการใช้งานทางการเมืองในอดีตจนถึงปัจจุบันและพื้นที่สาธารณะทางการเมืองใหม่ ประกอบด้วย สนามหลวง ถนนราชดำเนิน แยกราชประสงค์ แยกปทุมวันและห้าแยกลาดพร้าว การเก็บข้อมูลประกอบไปด้วยการทบทวนวรรณกรรม การศึกษารูปแบบการชุมนุมทางการเมือง การสำรวจคุณลักษณะของพื้นที่สาธารณะ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาปรับใช้กับการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่สาธารณะเมื่อเกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองและผู้จัดการชุมนุมทางการเมือง เพื่อนำมาวิเคราะห์ สรุปผลการศึกษา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองในอดีตมีมากกว่าและมีข้อจำกัดการใช้งานพื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองน้อยกว่าในปัจจุบัน ส่วนคุณลักษณะทางกายภาพที่มีความสำคัญต่อการเลือกใช้พื้นที่ คือ ความเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้ง การสัญจรเข้าถึงง่าย ความปลอดภัย ขนาด รูปร่างและสิ่งอำนวยความสะดวก

 คำสำคัญ: พื้นที่สาธารณะ; การชุมนุมทางการเมือง; คุณลักษณะทางกายภาพ

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจน์ นทีวุฒิกุล. (2550). ตรรกะการใช้พื้นที่สาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ในเมืองเชียงใหม่.
วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต , ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กีรติ ลัทธานนท์. (2547). การปรับปรุงพื้นที่สาธารณะและเส้นทางเชื่อมต่อบริเวณถนนทรงวาด เขตสัม
พันธวงศ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต , สาขาการออกแบบชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาตรี ประกิตนนทการ. (2563). ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์มติชน.
ศุภชัย ชัยจันทร์ และ ณรงพน ไล่ประกอบทรัพย์. (2559). แนวคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะของพื้นที่สาธารณะในเมือง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่15 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559): 74-75
อรรถพล ใหญ่สว่าง. (2556). การแสดงออกทางประชาธิปไตย โดยการชุมนุมสาธารณะภายใต้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร :วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาล
รัฐธรรมนูญ.
Fraser, Nancy et al. Transnationalizing the Public Sphere. Cambridge: Polity Press.
Goodsell, C.T. (2003).The Concept of Public Space and Its Democratic Manifestations.
The American Review of Public Administration. 361-383.
Habermas, Jurgen. (1992). The Structural Transformation of the Public Sphere: An Inquiry
into a Category of Bourgeois Society. Cambridge: Polity Press.
Hou, J. and Knierbein, S. (2017). CITY UNSILENCED Urban Resistance and Public Space in
The Age of Shrinking Democracy. Routledge.
Jacobs, J. (1994). The Death and Life of Great American Cities. New York: Penguin Books.
Parkinson, John.R. (2012). Democracy and Public Space The Physical Sites of Democratic
Performance. Oxford University Press.
Lawrence, J. (2008). Architecture, Power and National Identity. Routledge.
Taha, Dalia.A. (2016). Political Role of Urban Space Reflections on the Current and Future
Scene in Cairo-Egypt. Architecture Engineering Department Research.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27