การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: รูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ แผนการจัดการ ในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ประสุดา เจริญสุข คณะสถาปัตยกรรม มหาลัยศิลปากร
  • เค็น เทย์เลอร์

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม; เส้นทางวัฒนธรรม; การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  ซึ่งมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของทวีปเอเชีย  ซึ่งทำให้เกิดรายได้ภายในประเทศทั้งระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น  การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งซึ่งส่งเสริมคุณลักษณะเฉพาะของระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น  เป็นการนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวแก่ผู้เยี่ยมชมเพื่อสำรวจมรดกทางวัฒนธรรมของภูมิภาค  มีสิ่งที่สำคัญคือสามารถสัมผัสและเยี่ยมชมสถานที่ที่น่าสนใจ  การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นถึงการศึกษาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในจังหวัดสุรินทร์  เพื่อกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่มีอยู่ในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น  โดยจะเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีกด้วย  การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษามรดกทางวัฒนธรรม  (๒) วิเคราะห์แผนการจัดการสถานการณ์การท่องเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยวในปัจจุบัน (๓) กำหนดแนวทางสำหรับแผนการจัดการที่ยั่งยืนพร้อมทั้งกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผู้เยี่ยมชมอย่างเหมาะสมเพื่อให้การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ผลการวิจัยที่สำคัญนี้ชี้ให้เห็นว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมยังไม่มีความเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์  อีกทั้งยังขาดแผนการจัดการและแนวทางในการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ  ถึงแม้ได้มีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่และชุมชน และมีกลยุทธ์ในการส่งเสริมกระตุ้นการขายและการตลาดภายในจังหวัดสุรินทร์เพื่อเพิ่มการท่องเที่ยวแล้วก็ตามแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร  และยังไม่สามารถแสดงอัตลักษณ์ให้นักท่องเที่ยวได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเส้นทางท่องเที่ยวและแผนการท่องเที่ยวที่เป็นปัจจัยในการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์ ดังนั้นการเสนอแนะรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแผนการจัดการที่เอื้อประโยชน์ต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุรินทร์ ถือว่าเป็นการนำเสนอวิสัยทัศน์ใหม่และเป็นแนวทางให้สุรินทร์ก้าวไปสู่ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักแห่งใหม่ในพื้นที่อีสานใต้ เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอยู่มากมายในจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม; เส้นทางวัฒนธรรม; การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

Aymonier, E. (200AD). Isan Travels Northeast Thailand’s Economic in 1883-1884. Translated by W.E. .J Tips. White Lotus.

Avrami, E.C. and Getty Conservation Institute (2019). Values in heritage management: emerging approaches and research directions. Los Angeles, California: The Getty Conservation Institute.

Council of Europe and Institut Européen Des Itinéraires Culturels (2015). Cultural routes management: from theory to practice: step-by-step guide to the Council of Europe Cultural Routes. Strasbourg: Council of Europe Publishing.

Cultural Routes of the Council of Europe programme (Council of Europe, https://www.coe.int/en/web/cultural-routes/about

De, M. and Getty Conservation Institute (2002). Assessing the values of cultural heritage: research report. Los Angeles, Calif.: Getty Conservation Institute.

Guidelines for planners of cultural routes CULTURAL ROUTES. (n.d.). [online]. Available at: https://lrkm.lrv.lt/uploads/lrkm/documents/files/Cultural_routes.pdf [Accessed Nov. 2020].

Ismail, R. (2008). Development of a normative model for cultural tourism on the Cape Flat (Master’s dissertation, Cape Peninsula University of Technology).

Krug,G.(2009). The future of cultural tourism towards a sustainable model. Presented in 16th PLENARY SESSION CPR (16)4REP.
Meyer, D. (2004). TOURISM ROUTES and GATEWAYS: Key issues for the development of tourism routes and gateways and their potential for Pro-Poor Tourism.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27