หลักการทางกฎหมายของประเทศไทย ในการคุ้มครองสิทธิเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกทางสื่อออนไลน์
คำสำคัญ:
สิทธิเด็ก, กลั่นแกล้งรังแก, สื่อออนไลน์บทคัดย่อ
ในประเทศไทยนั้น เด็กเป็นอีกกลุ่มบุคคลที่มีการฆ่าตัวตาย โดยปัจจัยของการฆ่าตัวตายมักเกิดจากปัญหาในเรื่องการเรียน ปัญหาเรื่องความรัก ปัญหาครอบครัว และปัญหาการวางตัวในสังคม ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้เด็กเกิดอาการซึมเศร้า ขาดที่พึ่ง และไม่สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาในทางที่ถูกต้องเหมาะสมได้ อันนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการฆ่าตัวตายของเด็กคือการอับอายจากพฤติกรรมต่างๆทางสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการประจาน การล้อเลียน ทางเฟซบุ๊กและในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงปัญหาในการปรับใช้กฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ และ 2) ศึกษาหลักการของกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักการของกฎหมายของประเทศไทย โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า องค์การสหประชาชาติได้พัฒนาการคุ้มครองเด็กให้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการประกาศอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก หรือ Convention on the Rights of the Child 1989 ขึ้นในปี พ.ศ.2532 โดยสิทธิประการแรกได้ให้การรับรองและเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามไม่ให้มีการใช้สื่อออนไลน์ในการยั่วยุให้เด็กฆ่าตัวตาย จากการศึกษากฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งในระดับรัฐบาลกลางและระดับมลรัฐ พบว่า ในระดับรัฐบาลกลางนั้น อยู่ในระหว่างการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการป้องกันการแกล้งทางออนไลน์ ทั้งนี้ในระดับมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการแกล้งทางออนไลน์ระดับมลรัฐจำนวนทั้งสิ้น 22 มลรัฐ เมื่อศึกษาถึงกฎหมายของประเทศแคนาดา พบว่ามีกฎหมายระดับรัฐบาลกลางเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้แก่ พระราชบัญญัติปกป้องชาวแคนาดาจากอาชญากรรมออนไลน์หรือ Protecting Canadians from Online Crime Act ทั้งนี้ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีทั้งสิ้น 3 ฉบับ ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 2) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 และ 3) ประมวลกฎหมายอาญา โดยประมวลกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายสำคัญในการปรามผู้กระทำผิด แต่ไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์โดยเฉพาะ แต่มีฐานความผิดที่เกี่ยวข้อง และอาจนำมาปรับใช้ได้ คือความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งการกลั่นแกล้งเด็กออนไลน์ จะเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามมาตรา 328 มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท จึงเห็นสมควรให้มีกฎหมายเฉพาะที่มีลักษณะพิเศษในการคุ้มครองเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา โดยระบุลักษณะความผิดและฐานความผิด รวมทั้งระดับอายุของผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองและผู้กระทำผิดตามกฎหมายฉบับนี้ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่คิดจะกระทำความผิดได้หวาดกลัวต่อโทษทางกฎหมายที่จะเกิดขึ้น
Downloads
References
คณาธิป ทองรวีวงศ์.2555. กฎหมายเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์นิติธรรม.
คณาธิป ทองรวีวงศ์. 2555. “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว: ศึกษากรณีการรบกวนสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวจากการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคม.”วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย.18(1): 39-51.
คณาธิป ทองรวีวงศ์.2552. “ศึกษาเปรียบเทียบพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ ศ 2550 กับ กฎหมายอาญาฐานหมิ่นประมาท ในกรณีการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต”บทบัณฑิตย์. เล่มที่ 65 ตอน 2 มิถุนายน 2552 หน้า 31-69.
คณาธิป ทองรวีวงศ์ . 2557. “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กในบริบทของการสื่อสารข้อมูลออนไลน์ : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายสหรัฐอเมริกาและกฎหมายไทย”บทความวิชาการนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2557
คณาธิป ทองรวีวงศ์ . 2558. “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิบุคคลจากการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตาย : ศึกษากรณีกฎหมายความปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber-security safety Act) ของรัฐ Nova Scotia”, ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมกับความท้าทายทางภาษาและการสื่อสารในโลกไร้พรมแดน”, วันที่ 3-4 กันยายน 2558, ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทรงเกียรติ จรัสสันติจิต.2560.“Cyberbullying : ถ้ารักฉัน อย่ารังแกฉัน. ”สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์: 117-137.
เมธินี สุวรรณกิจ.2560.“มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์.”วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร10(2): 49-70.
อมรทิพย์ อมราภิบาล.2559.“เหยื่อการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในกลุ่มเยาวชน : ปัจจัยเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการปรึกษาบุคคลที่สาม.” วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 14(1): 59-73.
Andrew M.Henderson. 2009. “High-Tech Words Do Hurt: A Modern Makeover Expands Missouri’s Harassment law to include electronic communication.” Missouri Law Review74(2): 379-398.
Danielle Keats Citron. 2009.“Cyber Civil Rights,”Boston University Law Review Vol.89: 61- 125.
Lindsay Gehman.2007. “Deleting Online Predators Act: I Thought It Was My-Space - How Proposed Federal Regulation of Commercial Social Networking Sites Chills Constitutionally Protected Speech of Minors,” Loyola of Los Angeles Entertainment Law Review27(2): 155-183.
Robert Cannon.1996. “The Legislative History of Senator Exon’s Communications Decency Act: Regulating Barbarians on the Information Superhighway,” Federal Communication Law Journal 49(1): 51-94.
Sander J.C.2008.Social Networking and Sexual Predators : The Case for Self-regulation, 31Hastings Communications and Entertainment Law Journal 31(1): 173-192.
Stromdale C.. 2007. “Regulating online content : A global view,”Computer and Telecommunication Law Review, 13(6): 7.