การประเมินการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้แต่ง

  • จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์
  • นราธิป ศรีราม
  • กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
  • ลักษณา ศิริวรรณ
  • พนมพัทธ์ สมิตานนท์
  • กาญจนา บุญยัง
  • สุปัญญดา สุนทรนนธ์
  • สุวิดา นวมเจริญ
  • พิชยา ชวากร
  • นพพล อัคฮาด

คำสำคัญ:

การประเมินและการพัฒนา; หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต; มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และประเมินหลักสูตร รป.บ.(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการโดยการวิเคราะห์หลักสูตรด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการใช้หลักสูตร และผลการใช้หลักสูตร  2) เสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โดยข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

                      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในการวิจัยเชิงปริมาณได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม นักศึกษาปัจจุบัน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 363  คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับการวิจัยเชิงุณภาพ เก็บข้อมูลจากอาจารย์ประจำ จำนวน 13 คน เจ้าหน้าที่ มสธ.จำนวน 15 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยใช้การสนทนากลุ่มย่อยในการเก็บข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลที่ได้ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการสรุปอุปนัย

                      ผลการวิจัยประเมินหลักสูตรพบว่า

                      1.ทุกองค์ประกอบที่ประเมินมีความเหมาะสมและมีคุณภาพผ่านการประเมินผล  กล่าวคือ 1) ด้านบริบท ทั้งนักศึกษา และอาจารย์ประจำแขนงวิชาบริหารรัฐกิจเห็นว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความชัดเจน ตอบสนองความต้องการของนักศึกษา บัณฑิต และความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม สอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัยและองค์กรวิชาชีพ พร้อมกันนี้นักศึกษา และอาจารย์เห็นว่าชุดวิชาในหมวดวิชาต่างๆ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเหมาะสมที่จัดไว้โครงสร้างของหลักสูตรในระดับมากที่สุด สำหรับสำหรับชุดวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาเฉพาะนักศึกษา และอาจารย์เห็นว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและมีความเหมาะสม   2) ด้านปัจจัยนำเข้า นักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ มสธ. เห็นว่าเอกสารการสอน แหล่งการเรียนรู้ และคุณภาพของสื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมและคุณภาพในระดับมากที่สุด ในขณะเดียวกันอาจารย์เห็นว่าศักยภาพและความพร้อมของผู้สอนมีอยู่ในระดับสูง 3) กระบวนการดำเนินงานซึ่งเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ดำเนินการในด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน  ด้านการวัดและการประเมินผล ด้านการบริการและการจัดการการศึกษาของมหาวิทยาลัย ทั้ง คณาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ มสธ. เห็นว่ามีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมิน 4) ด้านผลผลิต ทั้งอาจารย์และผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าบัณฑิตบริหารรัฐกิจมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับที่มากที่สุด

                         2.สำหรับแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตควรมุ่งเน้นการสร้างนักบริหารที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งควรเปิดวิชาเอกที่สำคัญ คือ1) วิชาเอกการจัดการภาครัฐและเอกชน 2) วิชาเอกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 3) วิชาเอกการบริหารท้องถิ่นและการจัดการเมือง ซึ่งควรมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 5 ชุดวิชา(30 หน่วยกิต) หมวดวิชาเฉพาะ 9 ชุดวิชา( 54 หน่วยกิต) หมวดวิชาเฉพาะเอก 5 ชุดวิชา( 30 หน่วยกิต)  และวิชาเลือกเสรี 1 (6 หน่วยกิต) ชุดวิชา รวม 20 ชุดวิชา คิดเป็น 120 หน่วยกิต ใช้ระยะเวลาศึกษา 4 ปีการศึกษาในส่วนของเนื้อหาหลักสูตรนั้นควรเป็นเนื้อหาที่สะท้อนองค์ความรู้ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ทั้งสิ้น 5 องค์ความรู้ได้แก่ องค์การและการจัดการ นโยบายสาธารณะ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และการคลังและงบประมาณ โดยยังคงคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตามเดิม

 

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง

ภาษาไทย

เฉลิมพงศ์ มีสมนัย. (2560). การประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร

รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 15 (1) : 55-74.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ : เอราวัณ

การพิมพ์.

นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว ประยูร เทพนวล เมธี ดิสวัสดิ์ และ นุรซีตา เพอแสละ. (2556).

บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เรื่อง ประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. หน้า 436-446. สืบค้นจากhttp://www.hu.ac.th/conference2013/Proceedings2013/pdf/Book3/Poster2/

_436-446.pdf.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2558). การประเมินหลักสูตร: แนวคิด กระบวนการและการใช้ผลการ

ประเมิน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 8 (1) : 13-28.

ภิรดา ชัยรัตน์ เกวลิน ศีลพิพัฒน์ นิตยา เงินประเสริฐศรี มนฤตย์พล อุรบุญนวลชาติ

และศรีรัฐ โกวงศ์ (2561) การวิเคราะห์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ของประเทศไทยในปัจจุบัน พ.ศ. 2558, วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 10 (1): 361-382.

สุรศักดิ์ หลาบมาลา. (2522). วิจัยการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ

เจ้าพระยา.

สุภา นิลพงษ์. (2554). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช

ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (วิทยาการประเมิน) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาระสังเขปออนไลน์ ค้นคืนเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 สืบค้นจาก http://www.stou.ac.th/Information/Notis_bandit.pdf

สำนักวิชาการ ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน (2563) รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ภาษาอังกฤษ

Scriven, M. (1991). Pros and cons about goal-free evaluation, Evaluation Practice, 12 ( 1), 55-63.

Stake, R. E. (1973). Program Evaluation Particularly Responsive Evaluation.

Paper presented at a conference on “New trends in Evaluation” Goteborg, Sweden, October, 1973 Retrieved from http://journals.sfu.ca/jmde/index.php/jmde_1/article/viewFile/303/298.

Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP Model for Evaluation. Annual

Conference of the Oregon Program Evaluators Network. Oregon: Michigan

Translated Thai References

Buasri, T. (1999). Curriculum Theory, Curriculum Design and

Development. Bangkok: Erawan Printing.

Chairatana, P., Silphiphat, K., Ngernprasertsri, N., Urabunnualchat, M.,and

Gohwong, K. (2018). Analysis of Current Public Administration Curriculum in Thailand B.E. 2558. Journal of Politics, Administration and Law. 10 (1): 361-382.

Laabmala. S.(1979). Educational research. Bangkok: Ban Somdet

Chaopraya Teachers College.

Misomnai, C. (2017). An Evaluation of Teaching and Learning

Management in the Bachelor of Public Administration Program of School of Management Science, Sukhothai Thammathirat Open University. Journal of Modern Management, Vol. 15, No.1 Jan. – June. 55-74.

Nilpong, S. (2011). An Evaluation of The Curriculum of Mahidol

Wittayanusorn School B.E. 2552. Master Thesis, M.S. (Evaluation Method). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.

Office of Academic Affairs (2020). A Report of Graduate User Satisfaction

of Sukhothai Thammathirat Open. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Press.

Ritcharoon, P. (2015). Curriculum Evaluation: Approaches, Procedures,

and Its Utility. STOU Education Journal, 8 (1): 13-28.

Sawaskeaw, N., Thepnuan, P., Di-sawat, M., and Phoesalae, N. (2013).

Research articles presented at the 4th HatYai Academic Conference on May 10, 2013. An Evaluation of Teaching and Learning Management in the Master of Public Administration Program in Public and Private Management of Hatyai University. 436-446. Retrieved From http://www.hu.ac.th/conference2013/Proceedings2013/pdf/Book3/Poster2/338_436-446.pdf.

Sukhothai Thammathirat Open University. Desirable Graduate

Qualifications of Sukhothai Thammathirat Open University. Online Retrieved June 4, 2020. Retrieved From http://www.stou.ac.th/Information/Notis_bandit.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30