การพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของเรือนจำอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนกิจ ยงยุทธ
  • พนมพัทธ์ สมิตานนท์
  • นพพล อัคฮาด

คำสำคัญ:

องค์สมรรถนะสูง; การพัฒนาองค์การ; เรือนจำอำเภอชัยบาดาล

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของเรือนจำอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และ (2) ปัจจัยการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของเรือนจำอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มประชากรการวิจัยเป็นบุคลากรทั้งหมดของเรือนจำอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 52 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า t  การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า  (1) ระดับการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเมื่อเรียงลำดับองค์ประกอบของการพัฒนามุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการนำองค์การ ด้านการบริหารยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ ด้านมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (2) ปัจจัยการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของเรือนจำอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี พบว่า การศึกษาการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อระดับการพัฒนาสู่องค์การสมรรถนะสูง จำแนกตามด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งการทำงาน อายุราชการ มีผลต่อระดับการพัฒนาสู่องค์การสมรรถนะสูงที่ไม่แตกต่างกัน และการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง พบว่า ปัจจัยด้านการนำองค์การ ด้านการบริหารยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ และด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงทางบวก ซึ่งได้กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ :  องค์สมรรถนะสูง; การพัฒนาองค์การ; เรือนจำอำเภอชัยบาดาล

Downloads

Download data is not yet available.

References

พเยาว์ อินทอง. 2560. การพัฒนาหน่วยงานภาครัฐสู่องค์การสมรรถนะสูง : กรณีศึกษา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงพลังงาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภาวนา กิตติวิมลชัย. 2557. คุณลักษณะและแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่การ เป็นองค์การสมรรถนะสูง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข.
วิเชียร คงเทพ. 2561. องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization ). ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/332542?fbclid=IwAR3ahTiQcU1 AhUTCJhdx68.yRh ERc0fL24ql_VYRX9MQB9eXuxmF6PGaw-CE.
วิษณุ เทพสินธพ. 2560. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ศศิรัศมิ์ ประสาทแก้ว. 2556. ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่องค์กรสมรรถนะสูงแบบบูรณาการพหุมิติศึกษากรณีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มหาวิทยาลัยทักษิณและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ดุษฎีนิพนธ์บัณฑิ,. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 2559. การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.opdc.go.th/content/Nzc.
สุขพงษ์ สุขพิพัฒน์. 2558. การบริหารมหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นองค์การสมรรถนะสูง. ดุษฎีนิพนธ์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุริยะ ทวีบุญญาวัตร. 2559. รูปแบบองค์กำรสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อ้อยใจ สมณ. 2558. ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของ บริษัท อินบิสโก้ (ประเทศไทย) จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Linder, J. C, and Books, J, D, 2004. “transforming the Public Sector” Outlook Journal, 3, 26-35.
Miller,M.L. 2002. The high performance organization an assessment of virtues and values. Retrived November 28, 2016, from: https://bahailibrary.com/.../m/miller_high_ performance_organization.p..

Translated Thai References
Inthong, P. (2017). Development of Government Agencies towards High Performance Organization: A Case Study of Department of Skill Development. Ministry of Energy. Independent Study, Master of Public Administration, Ramkhamhaeng University
Kittiwimonchai, P.(2014). Characteristics and good practice in developing higher education institutions towards the It is a high-performance organization. Boromarajonani College of Nursing, Phayao Bangkok: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health.
Kongthep, W. (2018). High Performance Organization. Retrieved 15 February 2021, from https://www.gotoknow.org/posts/332542?fbclid=IwAR3ahTiQcU1 AhUTCJhdx68.yRh ERc0fL24ql_VYRX9MQB9eXuxmF6PGaw-CE.
Office of the Public Sector Development Commission. (2016). Development of quality in public administration. Retrieved 15 February 2021, from https://www.opdc.go.th/content/Nzc.

Prasatkaew, S. (2013). Multilevel causal factors in university development into a multidimensional high-performance organization, a case study of Walailak University, Thaksin University and Prince of Songkla University. Doctor of Dissertation, Thaksin University.
Samon, A. (2015). A high performance organization of Inbisco (Thailand) Company Limited. Independent Study, Master of Business Administration, Sukhothai Thammathirat Open University.
Sukphiphat, S. (2015). Administration of Rangsit University as a high-performance organization. Bachelor of Dissertation Rangsit University.
Thaweeboonyawat, S. (2016). High Performance Organization Model of Secondary Schools Affiliation Office of the Basic Education Commission Doctor of Philosophy Thesis, Silpakorn University.
Thepsinthop, W. (2017). Factors Influencing the High Performance Organization of Sub-District Administration Organization in the Lower Northern Region. Master's Thesis, Nakhon Sawan Rajabhat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27