การศึกษาศักยภาพและธุรกิจแอบแฝงในตลาดนัดโค-กระบือบ้านยาง ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ วังพยนต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กัณตภณ สมผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • นุสบา ไชยะวง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ฤทธิเดช กาเผือก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สัญญา ชุบขุนทด คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ประเทือง ม่วงอ่อน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ศักยภาพ; ตลาดนัดโค-กระบือ; อุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาศักยภาพและธุรกิจแอบแฝงในตลาดนัดโค-กระบือบ้านยาง ตำบลบุ่งไหม อำเภอ     วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี  มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพของกิจการตลาดนัดโค-กระบือบ้านยาง ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และ (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และธุรกิจแอบแฝงอื่นๆ ของตลาดนัดโค-กระบือ การวิจัยเรื่องนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  อ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจและสังเกตการณ์ในสถานที่จริง เอกสาร และการสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้อง  ผลการวิจัยค้นพบว่า

(1) ศักยภาพของกิจการตลาดนัดโค-กระบือ บ้านยาง ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี  พบว่า ตลาดนัดโค-กระบือบ้านยาง เป็นตลาดนัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี  หากไม่มีปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสถานการณ์โรคระบาดลัมปี สกิน (Lumpy Skim Disease) ตลาดนัดจะเปิดทำการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง คือ วันพุธ และวันอาทิตย์ เป็นแหล่งพบปะของกลุ่มประชาชนที่สนใจซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือทำธุรกิจต่อยอดที่เกี่ยวข้องกับโค-กระบือ จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 สรุปว่า ตลาดแห่งนี้มีการค้าวัว (โค) จำนวน 1,200 ตัว/สัปดาห์ ควาย (กระบือ) ประมาณ 400 ตัว/สัปดาห์ รวมเป็นมูลค่าของสัตว์ในตลาดประมาณ 48,400,000 บาท มาตรการและข้อตกลงของตลาด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของปศุสัตว์จังหวัด และปศุสัตว์อำเภอ

(2) ปัญหา อุปสรรค และธุรกิจแอบแฝงอื่นๆ ของตลาดนัดโค-กระบือ พบว่า ตลาดนัดโค-กระบือ มีการแอบแฝงเล่นการพนัน การติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้การเคลื่อนย้ายสัตว์เป็นอย่างราบรื่น ทั้งการติดสินบนเจ้าหน้าที่ด้วยผู้ค้ารายย่อย หรือการติดสินบนแบบกลุ่มเครือข่ายหรือตัวแทนผ่านผู้มีอิทธิพลทางการเมืองในพื้นที่ หรือกลุ่มนักธุรกิจผู้ค้าสัตว์รายใหญ่ รวมทั้ง อาจจะมีการค้าประเวณี เป็นธุรกิจแอบแฝง เป็นต้น

ข้อเสนอแนะสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายให้ การบริหารจัดการปศุสัตว์ รวมทั้งการดูแลตลาดนัดโค-กระบือ ควรอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่ มิใช่ปศุสัตว์จังหวัด และปศุสัตว์อำเภอ หรือควรโอนปศุสัตว์จังหวัด และปศุสัตว์อำเภอ ให้ขึ้นตรงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการตลาดนัดโค-กระบือมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการจัดเก็บรายได้ หรือภาษีให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์. 2562. ตลาดนัดโค-กระบือ และตลาดนัดสัตว์ปีก ประจำปี 2562. เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563. สืบค้นจาก http://extension.dld.go.th

กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์. 2563.ตลาดนัดโค-กระบือ และตลาดนัดสัตว์ปีก ประจำปี 2563. เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563. สืบค้นจาก http://extension.dld.go.th

กิตตินิพนธ์ สิรินทรภูมิ. 2550. การค้าโคกระบือในลุ่มน้ำมูลตอนล่าง พ.ศ. 2435-2535. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ. สืบค้นจาก http://newtdc.thailis.or.th

Translated Thai References

Bureau of Agricultural Economic Research, Division of Livestock Extension and Development, Department of Livestock Development. (2019). The Cow-Carabao Market and Poultry Market in 2019. (accessed on October 7, 2020) Retrieved from http://extension.dld.go.th (in Thai)

Bureau of Agricultural Economic Research, Division of Livestock Extension and Development, Department of Livestock Development. (2020). The Cow-Carabao Market and Poultry Market in 2020. (accessed on October 7, 2020) Retrieved from http://extension.dld.go.th (in Thai)

Sirindhornphum, K. (2007). Economy at the Cow-Carabao Market in The Lower Mun River Basin in 1892-1992, Master of Education, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand. Retrieved from http://newtdc.thailis.or.th (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-12