ความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, นักศึกษา, รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัย, โควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรังภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 2) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 คน สำหรับประเด็นความคาดหวัง ประกอบด้วย 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านอาจารย์ผู้สอน 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านสถานที่และอุปกรณ์การศึกษา 5) ด้านบริการนักศึกษา 6) ด้านสังคมกลุ่มเพื่อน 7) ด้านกิจกรรมนักศึกษา 8) ด้านการจัดการสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19
ผลการวิจัย พบว่า ความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.46, S.D.= .451) โดยความคาดหวังด้านอาจารย์ผู้สอน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ด้านสังคมกลุ่มเพื่อน ด้านสถานที่และอุปกรณ์การศึกษา ด้านบริการนักศึกษา ด้านกิจกรรมนักศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนผลการเปรียบเทียบความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาที่มีภูมิลำเนา จำนวนพี่น้อง ลำดับที่ของการเป็นบุตร อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษาของบิดา และสถานภาพสมรสของบิดามารดาต่างกันมีคาดหวังต่อมหาวิทยาลัยไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่มีเพศ และระดับการศึกษาของมารดาที่ต่างกัน มีคาดหวังต่อมหาวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01
Downloads
References
ภาษาไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2564. สืบค้น
จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=630
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). ความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security).
สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
(2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สืบค้นจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). รายงานสถานการณ์ผลกระทบจากโควิด-19 ประจำปี 2564. สืบค้นจาก
https://www.bot.or.th/covid19.
พวงพยอม ชิดทองและปวีณา โฆสิโต. (2560). บทบาทของอาจารย์ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ
ที่ 21 สำหรับบัณฑิตไทย. วารสารพิฆเนศวร์สาร. 13(1): 1-11.
มนทกานติ์ รอดคล้าย. (2561). อิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและ
เยาวชนไทย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61243
วิสุทธิณี ธานีรัตน์. (2564). ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน
(WIL) กรณีศึกษา รายวิชาการจัดทำโครงการและการวิเคราะห์โครงการ. วารสารการศึกษาและ
นวัตกรรมการเรียนรู้. 1(2): 141-156.
สามารถ อัยกร. (2559). บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันอดุมศึกษา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา.
(2): 423-434.
เสรี สิงห์โงน, สาลินี จันทร์เจริญ, และธัญลักษณ์ กองชัยมงคล. (2562). ความคาดหวังและความพึงพอใจของ
นักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น
และครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก https://wjst.wu.ac.th.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นจาก
https://dictionary.orst.go.th.
ภาษาอังกฤษ
Belghith, N. B. & Arayavechkit, T. (2021). Impact of covid-19 per household in Thailand.
Retrieved from https://blogs.worldbank.org/th/eastasiapacific.
Bloom, B. S. (Ed.), Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy
of educational objectives, handbook I: the cognitive domain. New York: David McKay.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. 5th edition.. New York: Harper Collins.
Translated Thai References
Aiyakorn, S. (2016). The role of academic advisors in higher education. Journal of
Nakhonratchasima College. 10(2): 423-434.
Bank of Thailand. (2564). Report on the impact of COVID-19 for the year 2021. Retrieved from
https://www.bot.or.th/covid19.
Chidthong, P. & Kosito, P. (2017). The role of teachers in promoting learning skills in the 21st
century for Thai graduates. Ganesha Journal. 13(1): 1-11.
Division of Research Management and Educational Quality Assurance. (2017). Thailand 4.0
Model. Retrieved from https://www.nstda.or.th.
Ministry of Social Development and Human Security. (2021). Human security. Retrieved from
Ministry of Tourism and Sports. (2021). The tourism situation in the country by province for
the year 2021. Retrieved from https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=630
Office of the Royal Thai Council. (2011). The Royal Institute's Dictionary, B.E.2011. Retrieved
from https://dictionary.orst.go.th.
Rodklai, M. (2018). The influence of family's love and understanding on morality and ethics
of Thai children and youth. Retrieved from
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61243
Sing-ngon, S., Junchareon, S. & Kongchaimongkol, T. (2019). Expectations and satisfaction of
students towards teaching and learning management in the Master of Science, Child Psychology youth and family Program, Mahidol University. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th.
Taneerat, W. (2021). Effectiveness of Work-Integrated Learning Model: Case Study on Project
Formulation and Policy Analysis Course. Journal of Education and Innovative
Learning, 1(2): 141-156.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.